กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ 7-ELEVEN ในเขตลาดกระบัง

Main Article Content

สิริลักขณา มาตย์มี
วัชระ ยี่สุ่นเทศ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ 7-ELEVEN 2) ศึกษาการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ 7-ELEVEN 3) เปรียบเทียบการตัดสินใจของผู้บริโภคทั่วไปที่ซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ 7-ELEVEN จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล ประชากรในการศึกษาคือผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ 7-ELEVEN ในเขตลาดกระบัง เลือกตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบสมมติฐานแบบ t-test, F- test, One-Way ANOVA, Correlation และ Multiple Regression Analysis
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-30 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000 บาท ขึ้นไป อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดและการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ 7-ELEVEN ภาพรวมอยู่ในระดับสำคัญมาก ข้อมูลส่วนบุคคลด้านรายได้และอาชีพที่แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ 7- ELEVEN แตกต่างกัน กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ 7-ELEVEN อยู่ในระดับสูงทิศทางเดียวกัน ด้านโฆษณา การขาย โดยใช้พนักงาน การส่งเสริมการขาย และการตลาดทางตรง มีผลต่อการตัดตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ 7-ELEVEN ในเขตลาดกระบัง ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
มาตย์มี ส., & ยี่สุ่นเทศ ว. (2020). กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ 7-ELEVEN ในเขตลาดกระบัง. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 30(1), 1–15. https://doi.org/10.14456/pyuj.2020.1
บท
บทความวิจัย

References

กองบรรณาธิการนิตยสาร BrandAge. (2559). ทำไมเซเว่น อีเลฟเว่น ยังคงเน้นลงทุนเปิดสาขา. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2562. http://www.brandage.com/article/12542/7-ELEVEN.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร.

กุลธิดา ก้าวสัมพันธ์. (2560). การส่งเสริมการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

พันธุ์ทิพย์ ดีประเสริฐดำรง. (2559). ส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าร้าน LOFT ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภารณ หิรัญจานนท์. (2557). การส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ. (2561). การปรับตัวเข้าสู่ร้านค้าอัจฉริยะ. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2562. https://www.posttoday.com/economy/news/563533.

สมบูรณ์ ภุมรินทร์. (2558). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและคุณค่าตราสินค้ามีผลต่อการตัดสินใจ ซื้อข้าวสารบรรจุถุงของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สโรชา นนท์รักษากูล. (2560). การส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ CP EASY SNACK ในร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลเว่นในจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Kotler. P., & Keller, K.L. (2007). Marketing: An Introduction (9th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.