การพัฒนาคุณภาพการให้บริการด้านการนำเข้าและส่งออก ของบริษัท PT Air Cargo Co., Ltd.

Main Article Content

กันต์กนิษฐ์ แก้วมณี
ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณภาพการให้บริการด้านการนำเข้าและส่งออก 2) ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ 3) เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้บริการจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการให้บริการกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการด้านการนำเข้าและส่งออกของบริษัท PT Air Cargo Co., Ltd. โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา และนำข้อมูลที่ได้ประมวลผลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์แบบ t-test, F-test (One-way ANOVA), Correlation และ Multiple Regression Analysis


ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพการให้บริการ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอยู่ในระดับมาก ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการให้บริการกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ อยู่ในระดับปานกลางทิศทางเดียวกัน การให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า และการรู้จักและเข้าใจลูกค้า มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ข้อเสนอแนะ ผู้ให้บริการควรจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้คำปรึกษาแก่ลูกค้า พัฒนาทักษะทางด้านโลจิสติกส์ให้แก่พนักงาน เพื่อสร้างมาตรฐานและความน่าเชื่อถือในการให้บริการ จัดทำประวัติการให้บริการ และนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาปรับปรุงการให้บริการที่สร้างความประทับใจแก่ลูกค้าต่อไป

Article Details

How to Cite
แก้วมณี ก., & วิสิฐนิธิกิจา ช. (2020). การพัฒนาคุณภาพการให้บริการด้านการนำเข้าและส่งออก ของบริษัท PT Air Cargo Co., Ltd. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 30(1), 39–53. https://doi.org/10.14456/pyuj.2020.4
บท
บทความวิจัย

References

กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์. (2561). รายงานดัชนีวัดประสิทธิภาพ ระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ ปี 2561. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2562. https://www.nesdb.go.th /ewtdl_link.php?nid=7874.

เกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์. (2561). มุมมองของ TIFFA ต่อทิศทางของตลาดและอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในปี 2018. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2562. http://thai.logistics-manager.com /2018/02/09/ tiffa-logistics-seafreight-outlook-2018/.

ชญานิษฐ์ โสรส. (2559). คุณภาพการให้บริการไปรษณีย์จังหวัดจันทบุรีที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ไปรษณีย์ไทย: จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนากร ชมโคกกรวด, ปฏิมา ประโยชน์อุดมกิจ, และ ภูษิตย์ วงษ์เล็ก. (2561). คุณภาพบริการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการศูนย์บริการรถยนต์โตโยต้า จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก, 4(1), 33-50.

พรเจริญ แรงฤทธิ์ และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการให้บริการขนส่งสินค้าทางบกของ บริษัท เวิลด์ ฮาท ชิปปิ้ง แอน ทรานสปอร์ต. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา, 9(2), 102-111.

รัตนะ พุทธรักษา. (2560). คุณภาพการบริการด้านการนำจ่ายที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กรณีศึกษา ที่ทำการไปรษณีย์รามอินทรา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 6(2), 124-134.

วันพิชิตต์ อรรคดี และศักดิ์สินี กลิ่นสุนทร. (2559). ปัจจัยที่สำคัญต่อการเลือกใช้บริการขนส่งของบริษัทยูเซ็น โลจิสติกส์ (ประเทศไทย)จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก.

สมพร สุวรรณชลธาร. (2558). คุณภาพการบริการการขนส่ง ของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีรุ่งเรืองขนส่ง (2002). ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 2 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรครั้งที่ 2, 22 ธันวาคม 2558, (น.539-550). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สุภาพร แหลมไพศาล, และ จตุพร สังขวรรณ. (2557). คุณภาพการให้บริการขนส่ง กรณีศึกษาของ บริษัท สยามนิสทรานส์ จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Millet, J.D. (1954). Management in Public Science. New York: McGraw - Hill.

Parasuraman, A., Zeithaml, V.A. & Berry, L. (1990). Delivering quality service: balancing customer perception and expectations. New York: The Free Press.