ขีดความสามารถในการจัดการของผู้ประกอบการเซรามิกหมู่บ้านท่องเที่ยว เทศบาลตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

Main Article Content

ดาวเดือน โลหิตปุระ
อัจฉรา เฮ่ประโคน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาขีดความสามารถในการจัดการของผู้ประกอบการเซรามิกหมู่บ้านท่องเที่ยว เทศบาลตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยการใช้แบบสอบถาม และได้ทดสอบหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของคอนบราค ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ประกอบการเซรามิกหมู่บ้านท่องเที่ยวจำนวน 50 ราย ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการมีระดับขีดความสามารถโดยรวมต่อขีดความสามารถในการบริหารจัดการ มีระดับขีดความสามารถมาก (=4.48) เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเป็นอันดับแรก คือ ด้านการตลาด (=4.53) รองลงมา ได้แก่ ด้านการผลิต (=4.52) ด้านการเงินการบัญชี (=4.49) และด้านการวางแผน (=4.40) การเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่ส่งผลต่อขีดความสามารถในการจัดการของผู้ประกอบการ พบว่า ปัจจัยทางด้านการวางแผน ด้านการผลิต ด้านการตลาด และด้านการเงินการบัญชี ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อขีดความสามารถในการจัดการของผู้ประกอบการที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัยการบริหารจัดการ ส่งผลต่อขีดความสามารถในการจัดการของผู้ประกอบการ โดยมีความสัมพันธ์กันและมีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกัน ซึ่งปัจจัยการบริหารจัดการมีความสัมพันธ์กับขีดความสามารถในการจัดการของผู้ประกอบการในทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และค่าความแปรผันของปัจจัยการบริหารจัดการส่งผลต่อขีดความสามารถในการจัดการของผู้ประกอบการ ได้ร้อยละ 34.50 (R2=.345)

Article Details

How to Cite
โลหิตปุระ ด., & เฮ่ประโคน อ. (2020). ขีดความสามารถในการจัดการของผู้ประกอบการเซรามิกหมู่บ้านท่องเที่ยว เทศบาลตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 30(1), 83–93. https://doi.org/10.14456/pyuj.2020.7
บท
บทความวิจัย

References

จรรยา วัชรกาฬ. (2551). ขีดความสามารถในการบริหารและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร:กรณีศึกษาสำนักทางหลวงที่ 14 (นครศรีธรรมราช). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. จังหวัดลำปาง. อำเภอเกาะคา. เทศบาลตำบลท่าผา. (2560). จำนวนผู้ประกอบการหมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิก. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2561. http://www.thapalampang.go.th/masterweb/?p=3092

ไชยยศ ร่มรื่นบุญกิจ, คณิต เฉลย จรรยา, และสุภัททา ปิณฑะแพทย์. (2557). การพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบการใหม่ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

นวลฉวี แสงชัย และพงศ์วณิช สินงาม. (2561). การออกแบบแผนการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวในจังหวัดขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28(2), 71-80.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2560). แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเซรามิก ในปี พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2561. https://www.ryt9.com/s/oie /2660745

สิทธิชัย ธรรมเสน่ห์. (2555). สมรรถนะของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประเภทกิจการสถานบริการสปา ในจังหวัดชลบุรี กับขีดความสามารถอันพึงประสงค์ของผู้รับบริการ. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาการจัดการธุรกิจบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุรสิทธิ์ บุญชูนนท์. (2556).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็งของประเทศไทย: บริษัทผลิตอาหารทะเลแช่แข็งเพื่อการส่งออก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. (2010). Multivariate data analysis: a global perspective. Upper Saddle River, NJ: Pearson.