ห่วงโซ่คุณค่าและแนวทางการเพิ่มมูลค่ากล้วยไข่กำแพงเพชร สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการในตลาดมอกล้วยไข่

Main Article Content

ดวงนภา ลาภใหญ่
พัตรา คำสีหา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ ศึกษาห่วงโซ่คุณค่าและแนวทางการเพิ่มมูลค่ากล้วยไข่กำแพงเพชรสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการในตลาดมอกล้วยไข่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างสัมพันธ์กับแนวคิดห่วงโซ่คุณค่า ข้อมูลที่ได้รับมีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือแบบสามเส้า และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ในห่วงโซ่คุณค่ามี 3 กิจกรรมที่เพิ่มมูลค่าให้กับกล้วยไข่กำแพงเพชรแปรรูป ได้แก่ โลจิสติกส์ขาเข้า โลจิสติกส์ขาออก และการขาย ด้านโลจิสติกส์ ได้รับอิทธิพลจากระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ลดความเสียหายของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์แปรรูป ส่วนด้านการขาย ได้รับอิทธิพลจากช่องทางจำหน่ายที่หลากหลาย และความแตกต่างของประเภทสินค้า อย่างไรก็ตาม กิจกรรมอื่น ๆ ของห่วงโซ่มูลค่า ยังไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกล้วยไข่กำแพงเพชรได้ เช่น การผลิตโดยใช้เทคโนโลยีพื้นฐาน และการผลิตโดยไม่คำนึงถึงอุปทาน ทำให้สินค้าคงคลังมีมาก นอกจากนี้ กลุ่มผู้ประกอบการยังขาดความตระหนักต่อการสร้างบริการหลังการขาย และกิจกรรมสนับสนุนยังไม่มีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
ลาภใหญ่ ด., & คำสีหา พ. (2020). ห่วงโซ่คุณค่าและแนวทางการเพิ่มมูลค่ากล้วยไข่กำแพงเพชร สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการในตลาดมอกล้วยไข่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 30(1), 94–109. https://doi.org/10.14456/pyuj.2020.8
บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2562). สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI THAILAND). สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2563. http://www.ipthailand.go.th/images/gibook /GI_Book_111.pdf.

กรมส่งเสริมการเกษตร. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2563). ระบบจัดเก็บและรายงานข้อมูลภาวะการผลิตพืชรายเดือน ระดับตำบล-กล้วยไข่. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563. http://production.doae.go.th/.

จตุพร คงทอง, ฐิรารัตน์ แก้วจำนง, และสุรีย์พร วุฒิมานพ. (2561). แผนกลยุทธ์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์เครื่องแกงชุมชน: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงบ้านนากุน. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 10(ฉบับพิเศษ), 36-47.

เจษฎา นกน้อย และสัญชัย ลั้งแท้กุล. (2558). การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาว ประเภทอาหารในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(1), 54-66.

เจษฎา นกน้อย, สัญชัย ลั้งแท้กุล, สาทินี สุวิทย์พันธุ์วงศ์, กัญญาภัทร บูหมิด และพีชา รัตนศรี (2558). การวิเคราะห์กิจกรรมหลักในห่วงโซ่คุณค่าของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาว: กรณีศึกษาผู้ประกอบการสินค้าประเภทผ้าในจังหวัดพัทลุงและจังหวัดสงขลา. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 13(2), 139-151.

ฐิติมา วงศ์อินตา, ปนัดดา กสิกิจวิวัฒน์, ฮุนเซ็น นิยมเดชา, บุญฑรี จันทร์กลับ, และโรสลาวาตี โตะแอ. (2558). การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าอาหารฮาลาล. วารสารการขนส่งและโลจิสติกส์, 8, 1-11.

ปิยะฉัตร จารุธีรศานต์, นพกร เทพสิทธา, และจตุพร วัฒนดิลก. (2562). แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มในงานโลจิสจิกส์. ใน วารสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 สังคมผู้สูงวัย: โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา, วันที่ 30 มีนาคม 2562 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา, (น. 290-298). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

พรรณรวีย์ จันทรมาศ. (2560). การใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติเพื่อเพิ่มผลิตภาพสินค้าเกษตรแปรรูปของไทย. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์, วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 ณ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, (น. 92-106). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วินัด อ่วมอยู่, สุนันท์ สีสังข์, และพรชุลีย์ นิลวิเศษ. (2557). การผลิตและการตลาดกล้วยไข่ของเกษตรกรจังหวัดกำแพงเพชร. ใน การจัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช ครั้งที่ 4, วันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2557 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, (น. 1-8). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุนิษา กลิ่นขจร. (2558). การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพรบ้านเขานาใน ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฏร์ธานี. Veridian E-Journal, 8(2), 2643-2655.สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/45862/37931.

สุรีรัตน์ ศรีทะแก้ว และสุเทพ นิ่มสาย. (2556). การวิเคราะห์โซ่อุปทานและความได้เปรียบทางการแข่งขันด้านการส่งออกของผลไม้สดไทยไปยังตลาดสหภาพเมียนมาร์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(2), 37-61.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2554). รายงานการศึกษาขั้นสุดท้าย (Final report): โครงการศึกษาผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อผู้ประกอบการ SMEs ในสาขาที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย (High Impact Sectors). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์. (2555). การบัญชีต้นทุนเพื่อการบริหาร. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.