การวิเคราะห์และเปรียบเทียบการใช้สัทอักษร /l/ และ /r/ ในคำยืมภาษาอังกฤษในภาษาจีน

Main Article Content

รัชตพล ชัยเกียรติธรรม

บทคัดย่อ

การใช้สัทอักษร /l/ และ /r/ ในคำยืมภาษาอังกฤษในภาษาจีน สามารถวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับคำภาษาอังกฤษ ซึ่งมีทั้งเหมือนกันและแตกต่างกัน โดยคำภาษาอังกฤษที่มีอักษร /r/ ใช้เป็นคำยืมในภาษาจีน จะใช้สัทอักษร /l/ ทั้งในพยัญชนะต้น พยัญชนะท้าย รวมถึงพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้าย นอกจากนี้ คำภาษาอังกฤษที่มีพยัญชนะท้าย /-l/ หรือ /-r/ คำยืมในภาษาจีนบางคำใช้สระ /er/ อย่างไรก็ตาม คำภาษาอังกฤษที่ปรากฏพยัญชนะต้น /l/ ภาษาจีนได้ใช้สัทอักษรพยัญชนะต้น /l/ ในคำยืมเช่นกัน ดังนั้น คำยืมภาษาอังกฤษในภาษาจีน จึงมีการใช้สัทอักษร /l/ และ /r/ ทั้งเหมือนกันและแตกต่างกันกับคำภาษาอังกฤษ แต่ไม่มีผลต่อความหมายของคำ ด้วยเหตุนี้ ผู้ใช้ภาษาจีนจึงจำเป็นต้องเรียนรู้การใช้สัทอักษร /l/ และ /r/ ในคำยืมภาษาอังกฤษในภาษาจีน รวมทั้งการใช้พยัญชนะดังกล่าวในคำภาษาอังกฤษด้วย เพื่อช่วยให้สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
ชัยเกียรติธรรม ร. (2020). การวิเคราะห์และเปรียบเทียบการใช้สัทอักษร /l/ และ /r/ ในคำยืมภาษาอังกฤษในภาษาจีน. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 30(1), 173–180. https://doi.org/10.14456/pyuj.2020.13
บท
บทความวิชาการ

References

เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. (2560). พจนานุกรมจีน-ไทย ฉบับใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

นันทนา รณเกียรติ. (2555). สัทศาสตร์เพื่อการสอนการออกเสียงภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประพิณ มโนมัยวิบูลย์. (2555). ภาษาจีนกลางขั้นพื้นฐาน 1 (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัชตพล ชัยเกียรติธรรม. (2556). รายงานการวิจัยเรื่องการวิเคราะห์และเปรียบเทียบคำยืมภาษาอังกฤษที่ปรากฏในภาษาไทยและภาษาจีน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยพายัพ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2535). หลักเกณฑ์การทับศัพท์. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). พจนานุกรมคำใหม่เล่ม ๑-๒. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.

ไลฟ์เอบีซี. (2553). สวัสดีหนีห่าว เล่ม 1. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊ค.

เหยิน จิ่งเหวิน. (2551). รอบรู้ภาษาจีน (จุ๊กจิ๊กจอจีน) เล่ม 1 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

Oxford. (2011). Advanced American Dictionary. New York: Oxford University Press.

李园、刘鸿雁. (2006).《浅析现代汉语中的英语借词》,河北:保定职业技术学院.

黄忠廉. (2009).《现代汉语词典》,中的外来词研究,2019年9月9日. http:// www.lw23.com/lunwen_466575597/.

中国社会科学院语言研究所. (2016).《现代汉语词典》第7版, 北京:商务印书馆.