HI! So–Cial ไฮโซ...เชียล: เรื่องเล่าในรูปแบบกวีนิพนธ์

Main Article Content

ชฎารัตน์ สุนทรธรรม
เสาวนีย์ ดำรงโรจน์สกุล
อัจฉราภรณ์ จันทร์สว่าง

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาองค์ประกอบของเรื่องเล่าในกวีนิพนธ์ขนาดสั้น โดยศึกษาจากกวีนิพนธ์ Hi! So – Cial ไฮโซ...เชียล ของ ขวัญข้าว ขวัญเรียมเอย ใช้องค์ความรู้ที่เรียกว่า “ศาสตร์แห่งเรื่องเล่า” ซึ่งหมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาตัวบทของเรื่องเล่า โดยใช้แนวคิดทฤษฎีองค์ประกอบของการเล่าเรื่อง เพื่อวิเคราะห์ให้เห็นว่า กวีนิพนธ์ขนาดสั้นมีลักษณะเป็นเรื่องเล่าได้ ซึ่งแต่เดิมลักษณะของเรื่องเล่าจะปรากฏในกวีนิพนธ์ขนาดยาวและบันเทิงคดีร้อยแก้วประเภทเรื่องสั้นและนวนิยายเท่านั้น ผลการศึกษาพบว่า กวีนิพนธ์ HI! So – Cial ไฮโซ...เชียล ถึงแม้จะเป็นกวีนิพนธ์ขนาดสั้น แต่ก็มีลักษณะเป็นเรื่องเล่า เพราะมีองค์ประกอบของการเล่าเรื่องครบถ้วน ได้แก่ โครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก แนวคิด และมุมมองในการเล่าเรื่อง กวีใช้กลวิธีการเล่าเรื่องโดยเล่าเหตุการณ์ในอดีตเชื่อมโยงกับปัจจุบัน เพื่อเสนอแนวคิดหลัก 2 แนวคิด คือ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความเป็นสมัยใหม่ และ ความลวงจากสื่อโซเชียล

Article Details

How to Cite
สุนทรธรรม ช., ดำรงโรจน์สกุล เ. ., & จันทร์สว่าง อ. . (2021). HI! So–Cial ไฮโซ.เชียล: เรื่องเล่าในรูปแบบกวีนิพนธ์ . วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 30(2), 15–30. https://doi.org/10.14456/pyuj.2020.15
บท
บทความวิชาการ

References

ขวัญข้าว ขวัญเรียมเอย, นามแฝง. (2563). HI! So – Cial ไฮโซ...เชียล (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พี เอส ลีฟวิ่ง.

ชลธิรา สัตยาวัฒนา. (2530). ผจงถ้อยร้อยเรียง. กรุงเทพฯ: ปลาตะเพียน.

ดวงมน จิตร์จำนงค์. (2543). แนวคิดสำคัญของกวีนิพนธ์ไทยในยุคโลกาภิวัตน์. สงขลานครินทร์ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 6 (1), 1-13.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2539). วรรณกรรมวิจารณ์. ปทุมธานี: นาคร.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2559). การศึกษาเกี่ยวกับมุมมองในวรรณกรรมประเภทเรื่องเล่า: เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน ปรากฏการณ์วรรณกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี: นาคร.

นพพร ประชากุล. (2552). ยอกอักษร ย้อนความคิด เล่ม 2 ว่าด้วยสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: อ่าน.

สรณัฐ ไตลังคะ. (2560). ศาสตร์และศิลป์ในการเล่าเรื่อง (พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

สายวรุณ น้อยมิมิตร. (2541). เรื่องสั้นช่อการะเกด: ใครเล่าเรื่อง. วารสารภาษาและหนังสือ รวมบทความว่าด้วยเรื่องสั้น พ.ศ. 2475 – 2540. 29, 209 – 230.

สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา. (2541). เจิมจันทน์กังสดาล: ภาษาวรรณศิลป์ในวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.