ข้อสังเกตเกี่ยวกับระยะเวลาที่ผู้รับการให้ ต้องไม่ประพฤติเนรคุณ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเพิกถอนคืนการให้เนื่องด้วยเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 531 นั้น กฎหมายไม่ได้จำกัดเวลาการใช้สิทธิเพิกถอนนี้ ให้ต้องเริ่มนับตั้งแต่การให้สมบูรณ์ จึงก่อให้เกิดความไม่แน่นอนต่อผู้รับ ที่อาจถูกเพิกถอนเรียกคืนทรัพย์ได้อย่างไม่จำกัดเวลา กฎหมายเพียงแต่กำหนดให้ผู้มีสิทธิเพิกถอนต้องใช้สิทธิภายในระยะเวลาอายุความตามมาตรา 533 กล่าวคือ เมื่อเวลาได้ล่วงไปแล้ว 6 เดือนนับแต่เหตุเช่นนั้นได้ทราบถึงผู้มีสิทธิเรียกคืน และมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลา 10 ปีภายหลังเหตุประพฤติเนรคุณดังกล่าวได้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นคนละช่วงเวลานับแต่การให้สมบูรณ์ การศึกษาปัญหาดังกล่าวจากแนวคำพิพากษาและคำอธิบายเกี่ยวกับประเด็นเรื่องระยะเวลาการใช้สิทธิเพิกถอนเรียกคืนนี้ ไม่ปรากฏการพิจารณาหรือกล่าวถึงปัญหาระยะเวลาเช่นว่านี้ อาจเป็นเพราะประเพณีความเชื่อของสังคมไทย ที่ผู้รับพึงต้องกตัญญูระลึกบุญคุณของผู้ให้ตลอดไป บทความนี้จึงศึกษาวิเคราะห์แนวทางในการกำหนดระยะเวลาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวหลายแง่มุม ว่าจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้หรือไม่ ตลอดจนเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขกฎหมายเพื่อกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิดังกล่าวให้ชัดเจนต่อไป
Article Details
References
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6962/2550. สืบค้นจาก https://deka.in.th/view-410738.html.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1459/2526. สืบค้นจาก https://deka.in.th/view-29857.html.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2536. สืบค้นจาก https://deka.in.th/view-7811.html.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2550. สืบค้นจาก https://deka.in.th/view-267858.html.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10243/2550. สืบค้นจาก https://deka.in.th/view-412331.html.
ดาราพร ถิระวัฒน์. (2542). กฎหมายสัญญาสถานะใหม่ของสัญญาในปัจจุบันและปัญหาข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ตะวัน กุลกาญจนาวรรณ. (2559). ปัญหากฎหมายของสัญญาให้ที่มีค่าภาระติดพัน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (สาขาวิชานิติศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิษณุ เครืองาม. (2549). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: นิติบรรณการ.
ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. (2560). คำอธิบายกฎหมายลักษณะซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
เสนีย์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2559). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้ เล่ม 1 (ภาค 1-2) (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.