การพัฒนากระบวนการลดต้นทุนผลิตภัณฑ์และรูปแบบผลิตภัณฑ์แหนมเห็ด ของโรงเรียนประชารักษ์ศึกษา อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

อนันธิตรา ดอนบันเทา
คุณัญญา เบญจวรรณ
พัตราภรณ์ อารีเอื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนากระบวนการลดต้นทุนผลิตภัณฑ์การผลิตของผลิตภัณฑ์จากแหนมเห็ดแบบมีส่วนร่วม 2) เพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากแหนมเห็ดของโรงเรียนประชารักษ์ศึกษา อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกภาคสนาม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและนักเรียน จำนวน 15 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ จำนวน 2 คน และลูกค้า จำนวน 50 คน ผลการวิจัย พบว่า การลดต้นทุน ด้านวัตถุดิบ ได้แก่ การวางแผนในการจัดหาวัตถุดิบโดยการซื้อเห็ดในบริเวณพื้นที่หรือในชุมชนที่ใกล้เคียง การเพาะเห็ดในโรงเรียนเพิ่มเติม เพื่อให้วัตถุดิบเพียงพอต่อการผลิต ด้านแรงงาน ได้แก่ การบริหารเวลาทำงานให้น้อยลง โดยให้แบ่งหน้าที่ในการทำงานให้ชัดเจน ฝึกให้มีความเชี่ยวชาญ มีการฝึกอบรมและการปฏิบัติงานให้มีทักษะในการผลิตมากยิ่งขึ้น และด้านค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงขึ้น เนื่องจากเดิมไม่มีบรรจุภัณฑ์ และไม่มีตราสินค้า ทำให้ยอดขายต่ำ แต่มีการเพิ่มในเรื่องของบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่ทันสมัย ทำให้ผลตอบรับจากผู้บริโภคสูงขึ้น ยอดขายเพิ่มขึ้น ส่วนการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย ขนาดของการบรรจุ รสชาติ สีสัน เนื้อสัมผัส กลิ่น ในส่วนของบรรจุภัณฑ์ประกอบด้วย ตราสินค้า ความทันสมัย ความคงทน ความสวยงาม ขนาด ความดึงดูดใจ ความแตกต่างระหว่างรูปแบบเดิมกับแบบใหม่ ทำให้ลูกค้ามีความพอใจมากขึ้น

Article Details

How to Cite
ดอนบันเทา อ. ., เบญจวรรณ ค. ., & อารีเอื้อ พ. . (2021). การพัฒนากระบวนการลดต้นทุนผลิตภัณฑ์และรูปแบบผลิตภัณฑ์แหนมเห็ด ของโรงเรียนประชารักษ์ศึกษา อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 30(2), 58–71. https://doi.org/10.14456/pyuj.2020.18
บท
บทความวิจัย

References

กวิน มุสิกา, กฤช จรินโท, สามารถ ดีพิจารณ์ และภูริศ ศรสรุทร์. (2556). ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ และคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อทัศนคติในตราสินค้าของเครื่องสำอางไทยใน สปป.ลาว (กลาง). วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 8(2), 107-116.

จักรพันธ์ จันทร์หอม และ ภัทรธิรา ผลงาม. (2562). การวิจัยและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านสว่างธรรมวิเศษ ตำบลบ้านน้ำอ้อม อำเภอเกษตรวิสัยจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(1), หน้า 277-278.

ชลธิศ ดาราวงษ์. (2555). ผลิตภัณฑ์ใหม่และกลยุทธ์ทางธุรกิจ. วารสารศรีปทุม ชลบุรี, 9(2), 44-52.

นราทิพย์ ชุติวงค์. (2547). ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์จุลภาค (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปริณัฐ แซ่หวุ่น และน้ำฝน ลูกคำ. (2554). การพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าผลิตตภัณฑ์ชุมชน อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

ปัณณ์ณัช ธนัทพรรษรัตน์ และฉันทนา สุรัสวดี. (2558). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนโดยใช้วิธีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา: ผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือน บ้านคลองเดื่อพัฒนา ตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 7(3). 76-89.

พนัชกร สิมะขจรบุญ และเอกรินทร์ จินดา. (2561). การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ขนมหวานท้องถิ่นของชุมชนเทศบาลตำบลบางตะบูนจังหวัดเพชรบุรี เพื่อพัฒนาให้เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11 (1), 3634-3652.

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. (2556). คุณภาพอาหาร, สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2562. http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/3022/food-Quality-.

เพ็ญศรี ขุนทอง. (2554). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนทำฟาร์มโคนมของฟาร์มนำร่องสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว. สระแก้ว: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วรรณนา กัลยาสาย และคนอื่นๆ. (2552). โครงการแนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายขนมของกลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านคำแสนราชเหนือ ตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดน. (2555). ความสำคัญของเห็ด, สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2562. http://sakaeomushroom.blogspot.com/2012/09/blog-post_1572.html

Liu, Y., & Jang, S. (2009). Perceptions of Chinese restaurants in the U.S.: What affects customer satisfaction and behavioral intentions?. International Journal of Hospitality Management, 28 (3), 338-348.