การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาเลขานุการทางการแพทย์ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

Main Article Content

อนุธิดา ประเสริฐศักดิ์
กิตติพงษ์ ตระกูลโชคอำนวย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาเลขานุการทางการแพทย์ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แพทย์ พยาบาล และบุคลากรของโรงพยาบาลเอกชน
ในจังหวัดนครปฐม จำนวน 248 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการวิจัยแสดงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.838 และใช้สถิติการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) ผลการวิจัย พบว่า คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาเลขานุการทางการแพทย์ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ด้านคุณธรรมและจริยธรรม (2) ด้านความรู้ (3) ด้านทักษะทางปัญญา (4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และ (5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งผลการตรวจเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโครงสร้างเชิงองค์ประกอบคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาเลขานุการทางการแพทย์ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่าวัดระดับความกลมกลืน คือ Chi-square (χ2 ) = 4.286, df = 4, χ2 /df (CMIN/DF) = 1.071, RMR = .003, RMSEA = .017, GFI = .993, AGFI = .974, TLI=0.999 และ CFI = 1.000 แสดงว่า รูปแบบโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาเลขานุการทางการแพทย์เชิงยืนยัน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ จากข้อค้นพบการวิจัย ผู้บริหารหลักสูตรควรให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ โดยเฉพาะด้านทักษะทางปัญญา ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ประเสริฐศักดิ์ อ. ., & ตระกูลโชคอำนวย ก. . (2021). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาเลขานุการทางการแพทย์ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ . วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 30(2), 72–86. https://doi.org/10.14456/pyuj.2020.19
บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). ธุรกิจโรงพยาบาลและสถานบริการพยาบาล, สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2562. https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2562/T26/T26_201903.pdf.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552, สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2561. http://www.mua.go.th /users/tqf-hed/news/FilesNews/FilesNews2/news2.pdf.

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: บริษัท วีพริ้นท์ (1991).

ชิษณุพงศ์ ทองพวง. (2557). องค์ประกอบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์, 10 (2), 121-134.

ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์. (2559). เดินหน้าพัฒนาการศึกษาไทยสู่การทำงาน. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2561. https://www.thaihealth.or.th/Content/32375เดินหน้าพัฒนาการศึกษาไทย%20สู่การทำงาน.html.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

นภาพร วงษ์วิชิต, สายตา บุญโฉม, ภัชรินทร์ ซาตัน, กัลยรัศมิ์ ทิณรัตน์, และเสาวลักษณ์ จิตติมงคล. (2560). คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก ตามความต้องการของสถานประกอบการ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9 (3), 120-131.

นิศาชล รัตนมณี และประสพชัย พสุนนท์. (2562). อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามในงานวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 13 (3), 181-188.

เบญญาภา แสนสุทธิ์, เพ็ญสุดา ทิพย์สุมณฑา, และนนทชนนปภพ ปาลินทร. (2560). คุณลักษณะของบัณฑิตหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ตามความต้องการของสถานประกอบการ ในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2: การวิจัย 4.0 เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน, (1154-1166). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.

ปัญจา ชูช่วย, ศัจนันท์ แก้ววงศ์ศรี, และวิภาวรรณา ศรีใหม่. (2558). วิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตสถาบันอุดมศึกษาในภาคใต้. ใน การประชุมใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6, (1216-1231). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ผู้จัดการออนไลน์. (2559). 10 งานด้านสุขภาพ อัตราการจ้างงานสูงในต่างประเทศ, สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2561. http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID= 9590000013189.

พรชนก ทองลาด, กาญจนา คุมา, และสุธีรา ทิพย์วิวัฒน์พจนา. (2559). ศึกษาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ของสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 6 (1), 76-89.

พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2557). หลักการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 6 (2), 136-145.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2555). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอาเซียนปี’55 : สร้างรายได้สะพัดในไทยกว่า 2,500 ล้านบาท (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 3375), สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2561. https://www.kasikorn research.com/th/k-econanalysis/pages/ViewSummary.aspx?docid=29785.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม. (2559). เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เป็นรายอำเภอ พ.ศ. 2559, สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2561. http://nkpathom.old.nso.go.th/nso/project/search/result_ by_department.jsp.

อธิวัฒน์ โพธิ์พนา และสุเมธ พิลึก. (2560). คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ตามทัศนะของผู้ใช้บัณฑิต. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “นเรศวรวิจัย” ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ, (น. 1625-1635). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Burns, N., & Grove, S. K. (2005). The practice of nursing research: conduct, critique, and utilization (5th ed.). St. Louis: Elsevier Saunders.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Alderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis (6th ed.). New Jersey: Pearson.

Hooper, D., Coughlan, J., & Mullen, M. R. (2008). Structural equation modeling: Guidelines for determining model fit. Electronic Journal on Business Research Methods, 6 (1), 53-60.

Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. New York: McGraw-Hill.

Medical Technology Schools. (2020). Top 50 healthcare careers for 2020-career outlook and salary, Retrieved November 15, 2020. from https:// https://www.medicaltechnology schools.com/medical-lab-technician/top-50-healthcare-careers.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.