การพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อเพิ่มขีดความ สามารถในการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์ ยุคไทยแลนด์ 4.0
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานด้วยการใช้วิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์เชิงรุก 2) เสนอรูปแบบการประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์ ยุคไทยแลนด์ 4.0 เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ และบุคลากรภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยว จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่รับทราบรูปแบบการประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์จากสื่ออินเทอร์เน็ตในรูปแบบของยูทูบ การประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สื่อที่มีความเหมาะสมกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์ มีค่าเฉลี่ย
อยู่ในระดับมากทุกสื่อ (สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อกระจายเสียงและภาพ สื่อเฉพาะกิจ สื่ออินเทอร์เน็ต และสื่อบุคคล) โดยเฉพาะสื่ออินเทอร์เน็ต ส่วนรูปแบบสื่อดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกสื่อ (เฟซบุ๊ก ยูทูบ เว็ปไซต์การท่องเที่ยว ไลน์ และอินสตาแกรม) ยกเว้น ทวิตเตอร์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง นักท่องเที่ยวชื่นชอบสื่อดิจิทัลสำหรับประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในระดับมาก ยกเว้น สื่ออินสตาแกรม และสื่อทวิตเตอร์ที่ความชื่นชอบอยู่ในระดับปานกลาง การนำเสนอรูปแบบการประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์ ยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่ผู้เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวสามารถนำมาใช้เป็นรูปแบบการประชาสัมพันธ์เชิงรุก คือ 1) กลยุทธ์ที่ให้ความคิดต่อพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว 2) กลยุทธ์การใช้สื่อที่กลุ่มเป้าหมายเข้าถึง 3) กลยุทธ์การสร้างจุดเด่นในการขาย โดยส่วนใหญ่ผู้ประกอบการต้องการที่จะใช้รูปแบบของสื่อภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวในการประชาสัมพันธ์เชิงรุก
Article Details
References
จอห์นนพดล วศินสุนทร. (2558). เทคนิคการประชาสัมพันธ์เชิงรุกและการประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต, สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2562. http://johnnopadon.blogspot.com/2015/10 /blog-post_18.html.
จุรีพร จันทร์พาณิชย์, อาลัย จันทร์พาณิชย์ และวริษฐ์ กิตติ์ธนารุจน์. (2550). คุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์ของแหล่งท่องเที่ยวในอีสานใต้. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ณัฐแก้ว ข้องรอด. (2560). ประสิทธิภาพของการประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดเพชรบูรณ์ท่ามกลางกระแสเครือข่ายสังคม (Social Network). (รายงานวิจัย) เพชรบูรณ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
พรพิทักษ์ แม้นศิริ. (2560). เอกสารประกอบการบรรยาย หลักและกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ 4.0. การสัมมนาด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำปี 2561 “การพัฒนาการประชาสัมพันธ์ของ กองทัพบก ในยุค 4.0”, (น.2) วันที่ 18 ธันวาคม 2560 ณ โรงแรมเดอะพาลาสโซ่ กรุงเทพฯ.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
เมธาวิน สาระยาน. (2558). ศึกษาประสิทธิภาพของสื่อประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวของ จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2557. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเพชรบุรีวิจัยเพื่อแผ่นดินไทยที่ยั่งยืน ครั้งที่ 6, (น. 370-379). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
ยุทธศาสตร์จังหวัดเพชรบูรณ์. (2561-2565). กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2562. http://www.phetchabun.go.th/PBN-PLAN/strategicplan.php.
วรรณรัตน์ ศรีรัตน์. (2561). การพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ตามมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยในจังหวัดสมุทรสงคราม. (รายงานวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
สุกันยา คงเขียว, กนก เลิศพานิช, วรัญญา อรัญวาลัย และอภิศักดิ์ โพธิ์ปั้น. (2561). ศึกษาความต้องการสื่อในการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร หมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับคลอง 15 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 36(1), 12-20.
โสภณ อ่าวลึกน้อย. (2562). สื่อดิจิตอล, สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2563. https://digital 18757.blogspot.com/2019/12/digital.html.