ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของข้าราชการครู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

กัญญาภัค คำดา
วีรวรรณ วงศ์ปิ่นเพ็ชร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับเจตคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรับรู้สภาวะสุขภาพ การรับรู้สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และเพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของข้าราชการครู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือข้าราชการครู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 251 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยของตัวแปรเจตคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ขณะที่ตัวแปรการรับรู้สภาวะสุขภาพ การรับรู้สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้จากการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของข้าราชการครู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า เจตคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรับรู้สภาวะสุขภาพ การรับรู้สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา และการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ
ของข้าราชการครู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.17, 0.14, 0.27, และ 0.37 ตามลำดับ และพบว่าตัวแปรทั้งหมดสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการดูแลสุขภาพได้ ร้อยละ 56

Article Details

How to Cite
คำดา ก. ., & วงศ์ปิ่นเพ็ชร์ ว. . (2021). ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของข้าราชการครู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 31(1), 15–32. https://doi.org/10.14456/pyuj.2021.2
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2560). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2561 (Public Health Statistics A.D.2018). นนทบุรี: ผู้แต่ง. https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/statistic%2061.pdf

กฤษฎา วงศ์วิลาสชัย. (2547). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนในชุมชนเขตดอนเมือง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

ทิวา มหาพรหม. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). วิธีการทางสถิติสําหรับการวิจัย 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประคิ่น พรหมยา. (2547). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของครูประถมศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพัทลุง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ผ่อง อนันตริยเวช. (2545). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของครูประถมศึกษาสังกัดเทศบาลจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2538). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พิเชฐ เจริญเกษ. (2540). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของครูมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานสามัญศึกษา จังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

มนตรี ตุ้มทรัพย์. (2544). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของครูสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ยุคลธร แจ่มฤทธิ์. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ทัศนคติต่อวิชาชีพ รูปแบบการใช้ชีวิตของนักศึกษาการดูแลนักศึกษาของอาจารย์และบรรยากาศการเรียนรู้กับการใฝ่รู้ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เลอศักดิ์ เทิดวัฒน์. (2543). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตอุตสาหกรรม จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

วนลดา ทองใบ. (2540). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพคนงานสตรีในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมสิริ ธัญญสิริ. (2549). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ของกำลังพลกรมยุทธโยธาทหารบก กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). สาระสุขภาพ, สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2560. http://www.thaihealth.or.th/categories/3/1/86-%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E.html

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 1. (2562). ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนในสังกัด, สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2562. https://www.chiangmaiarea1.go.th/2562/

สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. (2560). กิจการ ช.พ.ค. – ช.พ.ส., สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2560. http://www.otep-cpks.go.th/otepcpks/cps-member-9/

สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2560). ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ, สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2560. http://www.thaincd.com/2016/mission3

อภิญญา บ้านกลาง และเบญจา มุกตพันธุ์. (2554). ทัศนคติด้านการป้องกันโรคเบาหวาน ของพนักงานราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีภาวะก่อนเบาหวานในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อรุณ อบเชย. (2547). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนในเขตตำบลบางแพ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ภายใต้โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Bollen, K. A. (1989). Structural equations with latent variables. New York: John Wiley & Sons.

Diamantopoulos, A. & Siguaw, J. A. (2000). Introducing LISREL. London: SAGE.

Green, L. W. (1986). Measurement and evaluation in health education and health promotion. California: Mayfield Publishing.

Hair, J. F., Anderson, R. E., Tatham, R. L., & Black, W. C. (1995). Multivariate data analysis with readings (4th ed.). Englewood Cliffs, N.J.: Prentice Hall.

Kelloway, E. K. (1998). Using LISREL for structural equation modeling: A researcher’s guide. Thousand Oaks: SAGE.

Kline, R. B. (2005). Principles and practice of structural equation modeling (2nd ed.). New York: The Guilford Press.

Leigh, M., Tashia, A., Michelle, T., & Larissa, G., (2020). The influence of adverse classroom and school experiences on first year teachers' mental health and career optimism. Teaching & Teacher Education, 87, Doi:10.1016/j.tate.2019.102956

Norusis, M. J. (1995). SPSS 6.1 guide to data analysis. Englewood Cliffs, NJ.: Prentice Hall.

Steven, J. (1996). Applied multivariate statistics for the social sciences (3rd ed.). New York: Lawrance Erlbaum.