ปัญหาในการคุ้มครองแรงงานเด็กตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

Main Article Content

ภูริชญา กันทะเนตร

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการคุ้มครองแรงงานเด็ก และเพื่อศึกษาหาแนวทางในการปรับปรุงหรือพัฒนากฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนและกฎหมายต่างประเทศ โดยศึกษาจากบทบัญญัติในหมวด 4 เรื่องการใช้แรงงานเด็ก ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนและมาตรฐานองค์การคุ้มครองแรงงานเด็กระหว่างประเทศ ข้อมูลจากรายงานวิจัย วิทยานิพนธ์และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแรงงานเด็ก แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ปัญหาและนำเสนอแนวทางการปรับปรุงหรือพัฒนากฎหมายในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนและกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายคุ้มครองแรงงานเด็ก จากการศึกษาพบว่า มีปัญหาในการบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในกรณีการคุ้มครองแรงงานเด็กใน 2 ประเด็น ดังนี้ 1) ปัญหาการกำหนดอัตราโทษผู้ฝ่าฝืน ซึ่งการเพิ่มโทษจากเดิมที่มีเพียงโทษปรับและจำคุก ให้มีโทษในการปิดกิจการของสถานประกอบการที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายในการจ้างแรงงานเด็ก จะทำให้ผู้ประกอบการเกิดความเกรงกลัวที่จะกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าว ซึ่งเห็นควรให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานให้เพิ่มอัตราโทษการปิดกิจการในมาตรา 148/1 2) ปัญหาอายุขั้นต่ำของลูกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในมาตรา 44 นั้น เป็นปัญหาที่มีผลต่อประโยชน์โดยตรงของแรงงานเด็ก ซึ่งหากแรงงานเด็กเข้าสู่ตลาดแรงงานโดยที่ยังไม่จบการศึกษาภาคบังคับหรืออายุยังน้อย ย่อมทำให้ขาดการต่อรองและเสียเปรียบในด้านค่าจ้าง ซึ่งจากการศึกษาพบว่า แรงงานเด็กที่มีคุณวุฒิการศึกษาภาคบังคับตามกฎหมาย สามารถเข้าทำงานที่ดีและได้รับค่าจ้างมากกว่าแรงงานที่ยังไม่จบการศึกษาภาคบังคับตามกฎหมาย จึงเห็นควรให้มีการแก้ไขกฎหมายในมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยให้เพิ่มอายุแรงงานขั้นต่ำให้เป็นอายุ 16 ปี หรือสำเร็จการศึกษาภาคบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาของประเทศไทย

Article Details

How to Cite
กันทะเนตร ภ. . (2021). ปัญหาในการคุ้มครองแรงงานเด็กตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 31(1), 33–47. https://doi.org/10.14456/pyuj.2021.3
บท
บทความวิจัย

References

เกษมสันต์ วิลาวรรณ. (2563). คำอธิบายกฎหมายแรงงาน (พิมพ์ครั้งที่ 28). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ฐานันดร เอมะศิริ. (2550). การใช้แรงงานเด็กตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน: ศึกษากรณีงานในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ณิชาวีร์ นามธรรม และสุรศักดิ์ มีบัว. (2562). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541: ศึกษากรณีการจ้างแรงงานเด็ก. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2, (น.1178-1186). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เด่นตา คงนาค. (2554). การทำสัญญาจ้างแรงงานเป็นหนังสือตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ปภาศรี บัวสวรรค์. (2560). กฎหมายแรงงานและประกันสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วนิดา อินทรอำนวย. (ผู้ดำเนินรายการ). (2560, 18 มกราคม). การใช้แรงงานเด็กและการใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน. [รายการวิทยุกระจายเสียง]. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

วีระพงษ์ บึงไก และสุชิน กฤตลักษณ์วงศ์. (2556). ปัญหาการจ้างเหมาแรงงานตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน. วารสารกระบวนการยุติธรรม, 6(1), 45-69.

สหนันท์ เวชไพศาลศิลป์ และญาดา กาศยปนันทน์. (2559). การคุ้มครองแรงงานเด็ก ศึกษากรณีการทำสัญญาจ้างแรงงานเด็ก. วารสารวิชาการคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 6(2), 5-14.

สหนันท์ เวชไพศาลศิลป์. (2558). คุ้มครองแรงงานเด็ก: ศึกษากรณีการทำสัญญาจ้างแรงงานเด็ก. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2560). พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541, สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2563. http://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=642571&ext=pdf