การศึกษาการแปลชื่อสถานที่ในจังหวัดเชียงรายเป็นภาษาจีน

Main Article Content

หวาง ไฉเจี้ยน
สหัทยา สิทธิวิเศษ
ดนุพงศ์ ชีวินวิไลพร

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากลวิธีการแปลชื่อสถานที่ในจังหวัดเชียงรายเป็นภาษาจีน 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการแปลชื่อสถานที่ในจังหวัดเชียงรายเป็นภาษาจีน และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการสอนแปลชื่อสถานที่ภาษาจีนในหลักสูตรการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชื่อสถานที่ในจังหวัดเชียงรายที่ปรากฏตามป้ายสาธารณะต่าง ๆ จำนวน 191 ป้าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยและพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีการแปลชื่อสถานที่ในจังหวัดเชียงรายเป็นภาษาจีนที่พบบ่อยที่สุด คือ กลวิธีการแปลแบบถอดเสียง จำนวนร้อยละ 54.79 รองลงมา คือ การแปลตามตัวอักษร ร้อยละ 13.30 การแปลความหมาย ร้อยละ 12.77 การแปลถอดเสียงผสมการแปลความหมาย ร้อยละ 12.23 การแปลตามความนิยม ร้อยละ 1.06 และกลวิธีอื่น ๆ ร้อยละ 5.85 ในการวิเคราะห์ปัญหาการแปลชื่อสถานที่ในจังหวัดเชียงรายเป็นภาษาจีน พบว่า ปัญหาที่พบมากที่สุด ได้แก่ ปัญหาการแปลโดยใช้ภาษาไม่เหมาะสม ร้อยละ 54.81 การแปลไม่สอดคล้องกับข้อความภาษาไทย ร้อยละ 20.74 การแปลที่ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ร้อยละ 17.78% และปัญหาอื่น ๆ ร้อยละ 6.67 ข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนวิชาการแปลภาษาจีน คือ 1) ควรมีการรวบรวมการแปลชื่อสถานที่เป็นภาษาจีนไว้ในตำราการแปลภาษาไทย-จีนให้ครอบคลุม และ 2) ในรายวิชาการแปลควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีการฝึกปฏิบัติด้านการแปลให้มากยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับการรวมและเสนอเป็นแนวทางในการสร้างมาตรฐานการแปลชื่อสถานที่ในจังหวัดเชียงรายเป็นภาษาจีน

Article Details

How to Cite
ไฉเจี้ยน ห. ., สิทธิวิเศษ ส. ., & ชีวินวิไลพร ด. . (2021). การศึกษาการแปลชื่อสถานที่ในจังหวัดเชียงรายเป็นภาษาจีน. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 31(1), 48–62. https://doi.org/10.14456/pyuj.2021.4
บท
บทความวิจัย

References

Duan, Y. (2019). Toponymic research in Northern Thailand. Master’s thesis. Yunnan Normal University.

Lin, M. (2016). Research on Chinese place names in Bangkok, Thailand. Ph.D. thesis. East China Normal University.

Wang, L. (2017). Research on Thai-Chinese translation of the 77 provinces of Thailand. Master’s thesis. Guangxi University.

Liang, L. (2009). Thai-Chinese translation theory and practice. Chongqing: Chongqing University Press.

Gao, Y. & Li, Z. (2009). Practical Thai-Chinese translation course. Beijing: Beijing Language and Culture University Press.

Li, J. (2000). Faith, expressiveness and elegance in Thai-Chinese translation and the sound, meaning and form of Chinese characters. Journal of PLA University of Foreign Languages, (4), 94-97.

Tourism Authority of Thailand. (2020). Ranking of foreign tourists traveling to Thailand, Retrieved April 28, 2021. from https://intelligencecenter.tat.or.th/articles/24462

China Encyclopedia Geography Editor Committee. (1990). China encyclopedia (Geography Volume). Beijing: China Encyclopedia Publishing Press.

Bi, W. & Liu, Q. (2017). Some thoughts on Thai-Chinese translation (Taking Thai proverbs as an example). Wen Cun Yue Kan, 191-192.

Cai, H. (2013). Preliminary exploration of the characteristics and translation of Thai vocabulary for economics and trade. Modern Chinese (academic comprehensive edition), (2), 124-125.

Sun, X. (2018). Translation practice and translation report of Thai short story "Imaginary Line" (excerpt). Master’s thesis. Beijing Foreign Studies University.