การสร้างชุดการสอนวิชาหลักการประสานเสียง เรื่อง การเขียนแนวเสียง สำหรับคอร์ดในรูปพื้นต้น โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ

Main Article Content

วัชระ โสฬสพรหม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและศึกษาประสิทธิภาพชุดการสอนวิชาหลักการประสานเสียงเรื่องการเขียนแนวเสียงสำหรับคอร์ดในรูปพื้นต้นโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือและศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน แบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน โดยแต่ละกลุ่มประกอบไปด้วย นักศึกษาเก่ง 1 คน นักศึกษาปานกลาง 2 คน และนักศึกษาอ่อน 2 คน ระยะเวลาในการทดลองทั้งหมด 3 คาบ ๆ ละ 180 นาที รวม 9 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ชุดการสอนวิชาหลักการประสานเสียงเรื่องการเขียนแนวเสียงสำหรับคอร์ดในรูปพื้นต้นโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อหาวิชา คู่มือการใช้ และแผนการจัดการเรียนรู้ 3 คาบ 2) แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน และแบบทดสอบระหว่างเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือ ผลการวิจัยพบว่าชุดการสอนวิชาหลักการประสานเสียงเรื่องการเขียนแนวเสียงสำหรับคอร์ดในรูปพื้นต้นโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือมีประสิทธิภาพ 87.50/81.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 3.50 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน

Article Details

How to Cite
โสฬสพรหม ว. . (2022). การสร้างชุดการสอนวิชาหลักการประสานเสียง เรื่อง การเขียนแนวเสียง สำหรับคอร์ดในรูปพื้นต้น โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 32(1), 36–49. https://doi.org/10.14456/pyuj.2022.3
บท
บทความวิจัย

References

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 5).กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ดนุชา สมใจดี. (2553). การสร้างชุดการสอนดนตรีไทยภาคปฏิบัติซออู้และซอด้วงเพลงแป๊ะสามชั้นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดท่าต้นกวาว. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพายัพ.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นัทพงษ์ เทเวลา. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI เรื่องการอ่านโน้ตดนตรีสากลสำหรับนักเรียนชมรมดนตรี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ผกาพรรณ แสงพรหม. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้การขับร้องโดยใช้แนวคิดโซลตาน โคดาย และชินอิจิ ซูซูกิ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ศิริมา พนาภินันท์. (2552). ชุดการสอนวิชาทฤษฎีดนตรีสากล 2 เรื่องทรัยแอต ผ่านการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2552). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2546). 19 วิธีจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.

เอกพงษ์ ศรีงาม. (2554). ทฤษฎีดนตรีสากลและการประสานเสียง เล่มที่ 1. ขอนแก่น: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Kostka, S. & Payne, D. (1995). Tonal harmony with an introduction to twentieth – century music (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.