การศึกษาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 และการปรับตัวของศิลปินขับซอล้านนาในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

โอม จันเตยูร
เกริกพงศ์ ใจคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 ต่อศิลปินขับซอล้านนาในจังหวัดเชียงใหม่ (2) เพื่อศึกษาการปรับตัวของศิลปินขับซอล้านนาในจังหวัดเชียงใหม่ ต่อการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (3) เพื่อศึกษาปัญหาและ  แนวทางแก้ไขปัญหาในการปรับตัวของศิลปินขับซอล้านนาในจังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ศิลปินขับซอล้านนา จำนวน 10 คน ผู้วิจัยเลือกใช้การคำนวณขนาดตัวอย่างที่ยึดจุดมุ่งหมายของการศึกษาเป็นหลัก ผลการวิจัยพบว่า (1) การแพร่ระบาดของโรค ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของศิลปิน ที่ถูกยกเลิกงานขับซอเนื่องจากความกลัวติดเชื้อไวรัสของผู้จัดงาน และประกาศคำสั่งต่าง ๆ จากภาครัฐ (2) ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรค ศิลปินมีการปรับตัวไปประกอบอาชีพเสริม การขับซอผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และการแต่งบทขับซอเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา (3) ปัญหาการปรับตัวในการขับซอผ่านสื่อสังคมออนไลน์เกิดขึ้นกับกลุ่มศิลปินที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากขาดทักษะและอุปกรณ์ แนวทางแก้ไขคือ การช่วยเหลือจากเพื่อนศิลปินที่ชวนมาร่วมขับซอผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และการเสนอข่าวของสื่อสารมวลชนที่ทำให้สังคมรับรู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจนได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐบาลในเวลาต่อมา

Article Details

How to Cite
จันเตยูร โ. ., & ใจคำ เ. . (2023). การศึกษาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 และการปรับตัวของศิลปินขับซอล้านนาในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 32(2), 18–31. https://doi.org/10.14456/pyuj.2022.13
บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. (2527). การแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ลักษณ์.

กัญญาณัฐ อ้วนหวัน (2542). การปรับตัวทางสังคมชุมชนย่อยในเมืองหลัก กรณีศึกษา: ชุมชนย่อยบ้าน บะขาม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. National Research Council of Thailand.

ชาย โพธิสิตา. (2559). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 7). อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

ทอยพันธุ์ อโศกศิริ. (2564, 24 กันยายน). ก้าวต่อไม่สะดุด “ซอล้านนา” หลังยุคโควิด-19. https://thecitizen.plus/node/48072

ประเสริฐ รักไทยดี. (2534). การฆ่าตัวตาย: ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 31(4), 18-31.

มณี พยอมยงค์. (2529). ประเพณีสิบสองเดือนของล้านนาไทย (พิมพ์ครั้งที่1). ส.ทรัพย์การพิมพ์.

ราตรี พงษ์สุวรรณ. (2540). การศึกษาปัญหาการปรับตัวด้านการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยรามคำแหง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. ThaiLIS Digital Collection.

ลักษณ์ เสงี่ยมจิต. (2543). ผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคมจากการดำเนินนโยบายสร้างทางหลวงพิเศษ (มอเตอร์เวย์) ที่มีต่อชุมชนข้างทาง: ศึกษากรณีทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ-ชลบุรี สายใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. ThaiLIS Digital Collection.

วนิดา ริกากรณ์. (2545). การดำรงอยู่ของการละเล่นพื้นบ้านซอล้านนา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. Chiang Mai University Digital Collections. https://cmudc.library. cmu.ac.th/frontend/Search/index/collection:19

วราคม ทีสุกะ. (2527). สังคมวิทยาเบื้องต้น. มิตรสยาม.

วุฒิชัย มุระดา. (2556). ผลกระทบที่มีต่อประชาชนจากการขยายตัวของคอนโดมิเนียมเพื่อการพักอาศัยในเขตพื้นที่ ชุมชนบางแสนบน ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. BUU Library. http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/ files/54930534/title.pdf

สมศักดิ์ ศรีสันติกุล. (2536). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม: แนวทางการศึกษาวิเคราะห์และวางแผน. คลังนานาวิทยา.

สมาคมศิลปินขับซอล้านนา. (ม.ป.ป.). สมาชิกในปัจจุบัน. http://sorlanna.com/about

สิริชัย ประทีปฉาย. (2533). การพัฒนาบุคลิกภาพและการปรับตัว. พิมพ์ลักษณ์.

สุนทร ปัญญะพงษ์. (2552). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสังคมวิทยา. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

อารีย์ บัญญัติ. (2540). การพัฒนาแบบวัดการปรับตัวกับเพื่อนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository. http://cuir.car.chula.ac.th/dspace/simple-search?query=

%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C+%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4&rpp=10&sort_by=score&order=desc

Hurlock, E. (2017). Developmaental Psychology: A Life-Span Approach (5th Edition). McGraw Hill Education.

Maxwell, J. A. (1996). Qualitative Research Design: An Interactive Approach. Sage.

Roy, C., & Andrews, H. A. (1999). The Roy adaptation model. Appleton & Lange.