การพัฒนาชุดฝึกทักษะการเขียนภาษาไทยด้วยตนเองสำหรับนักศึกษาชาวต่างประเทศ*
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกทักษะการเขียนภาษาไทยด้วยตนเองสำหรับนักศึกษาชาวต่างประเทศ 2) ศึกษาความสามารถในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาที่ใช้ชุดฝึกทักษะฯ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อชุดฝึกทักษะฯ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชาวต่างประเทศจำนวน 29 คน ซึ่งกำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่จำนวน 7 แห่ง ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2561 แบบแผนการวิจัย คือ One Group Pretest-Posttest Design
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐาน 2) ชุดฝึกทักษะฯ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถทางการเขียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ แบบ Paired t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะฯ มีค่าเท่ากับ 73.88/74.92 2) นักศึกษาชาวต่างประเทศมีคะแนนเฉลี่ยหลังการใช้ชุดฝึกฯ (post-test) สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการใช้ชุดฝึกฯ (pre-test) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ ส่วนผลการศึกษาระดับความสามารถ พบว่าก่อนใช้ชุดฝึกทักษะฯ ร้อยละ 3.45 มีความสามารถในระดับดี ระหว่างการใช้ชุดฝึกทักษะฯ ร้อยละ 62.07 มีความสามารถในระดับดี และหลังใช้ชุดฝึกทักษะฯ ร้อยละ 3.45 มีความสามารถในระดับดีมาก และร้อยละ 55.17 มีความสามารถอยู่ในระดับดี 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.55
Article Details
References
กมล ชูกลิ่น. (2550). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี].
คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2545). แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนซ่อมเสริมภาษาไทย ระดับประถมศึกษา. ผู้แต่ง.
จริยาภรณ์ รุจิโมระ. (2548). การช่วยเหลือเฉพาะด้านสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
จินดา อุ่นทอง. (2549). การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านสำหรับเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
ชนิกา คำพุฒ. (2545). การศึกษาการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาจีนวิชาเอกภาษาไทยชั้นปีที่ 4 สถาบัน ชนชาติยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2537). การทดสอบประสิทธิภาพของชุดการสอน. เอกสารการสอนชุดวิชาสื่อการสอน ระดับประถมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2, หน่วยที่ 8 – 15, น. 490-495).มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ถวัลย์ มาศจรัส, สมปอง แว่นไธสง, และบังอร สงวนหมู่. (2546). นวัตกรรมการศึกษาชุดแบบฝึกหัด-แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาผู้เรียนและการจัดทำผลงานทางวิชาการอาจารย์ 3 และบุคลากรทางการศึกษา (ครูชำนาญการ ครูเชี่ยวชาญ และครูเชี่ยวชาญพิเศษ). ธารอักษร.
นิรานันท์ วิไลรัตนกุล. (2553). การพัฒนาแบบฝึกเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดในการเขียนสะกดคำ สำหรับ นักเรียนชาวต่างประเทศระดับกลางในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].
บงกชกร ทับเที่ยง. (2546). การใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิจารณญาณ เรื่องประชากรกับสภาพแวดล้อมใน ท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโป่งน้อย อำเภอเมืองเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2543). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ
เยี่ยน หลัว. (2556). การสร้างแบบฝึกการเขียนสะกดคำ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
รจนา ธรรมศร. (2557). การสร้างชุดฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการหารทศนิยมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2561). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ (รู้เรา รู้เขา) (พิมพ์ครั้งที่ 17). หมอชาวบ้าน.
ศรีวิไล พลมณี. (2545). พื้นฐานการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกิจ ศรีพรหม. (2541). ชุดการสอนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. วารสารวิชาการ, 1(9), 68-72.
สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์. (2523). วิธีการสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Billow, F.L. (1962). The teacher work out his own exercises: The techniques of language teaching. Green and Company.
Rivers, W. M. (1968). Teaching foreign language skills. The University of Chicago Press.