การพัฒนาแนวปฏิบัติในการสอบรูปแบบข้อสอบที่นำกลับไปทำที่บ้าน สำหรับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์ แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ

Main Article Content

เกศินี วุฒิวงศ์
วุฒิจุฬา คุณพัฒน์วัฒนา
ธันยากร ต้นชลขันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวปฏิบัติในการสอบรูปแบบข้อสอบที่นำกลับไปทำที่บ้าน (Take-Home Exams: THEs) และเพื่อประเมินผลของการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติในการสอบรูปแบบข้อสอบที่นำกลับไปทำที่บ้านในรายวิชาศท. 113 วิถีทางสร้างปัญญา สำหรับนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยพายัพ เก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 99 คน ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกการนำแนวปฏิบัติ THEs ไปใช้ และประเมินค่าความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติ THEs และแบบบันทึกของผู้สอน


ผลการวิจัยพบว่า แนวปฏิบัติ THEs ที่ได้พัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเตรียมความพร้อม ระยะปฏิบัติ และระยะสรุป รวมกิจกรรมทั้งสิ้น 10 กิจกรรม กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็น/ความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติ THEs โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D.= 0.48) เมื่อพิจารณารายข้อที่อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ กิจกรรมที่ผู้สอนชี้แจงกฎกติกา ( = 4.67, S.D.= 0.53) ช่องทางการส่งข้อสอบ ( = 4.63, S.D.= 0.54) การจัดให้มีระยะเวลาสอบ 24 ชั่วโมง ( = 4.59, S.D.= 0.59) กลุ่มตัวอย่างส่งข้อสอบทันในเวลาที่กำหนดร้อยละ 98.99 และไม่พบการลอกคำตอบจากเพื่อน ดังนั้นผลการศึกษาชี้ให้เห็นแนวปฏิบัติ THEs ที่ได้พัฒนาขึ้นนั้น จะเป็นประโยชน์สำหรับรายวิชาอื่นต่อไปในอนาคต

Article Details

How to Cite
วุฒิวงศ์ เ. ., คุณพัฒน์วัฒนา ว. ., & ต้นชลขันธ์ ธ. . (2023). การพัฒนาแนวปฏิบัติในการสอบรูปแบบข้อสอบที่นำกลับไปทำที่บ้าน สำหรับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์ แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ . วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 32(2), 66–81. https://doi.org/10.14456/pyuj.2022.16
บท
บทความวิจัย

References

แสงทอง จันทร์เฉิด, ญาณี แสงสง่า, และพรรณพร กะตะจิตต์. (2563). จะไม่รอให้เกิดพายุ: กรมควบคุมโรคและภาคี ท่ามกลางวิกฤติโควิด 19 พ.ศ. 2562-2563 เล่ม 2 . กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1138620210625090000.pdf

ณิชกานต์ ทรงไทย, วราภรณ์ ยศทวี, และปฐพร แสงเขียว. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาพยาบาลในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 13(1), 198 -209. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/250460/169442

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยพายัพ. (2564ก, 17 มิถุนายน). ประกาศมหาวิทยาลัยพายัพ เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 (ฉบับที่ 15). https://www.payap.ac.th/_public/assets/files/Covid19-15.pdf

มหาวิทยาลัยพายัพ. (2564ข, 15 ตุลาคม). ประกาศมหาวิทยาลัยพายัพ เรื่องมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 (ฉบับที่ 20) (การจัดการเรียนการสอนและการสอบ ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2564). https://www.payap.ac.th/_public/assets/files/Covid19-20.pdf

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2564, 8 พฤศจิกายน). ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการสอบ Take Home Exam สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ฯลฯ ภาคต้นปีการศึกษา 2563. https://www.stou.ac.th/main/file/ประกาศฯ%20%20เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการสอบ%20take%20Home%20E.pdf

เวิร์คพอยท์ทูเดย์. (2564, 8 เมษายน). เจาะพฤติกรรมคน Gen Z ที่มักถูกเข้าใจผิด พร้อมกลยุทธ์มัดใจพิชิตยอดขายให้แบรนด์. https://workpointtoday.com/gen-z-behavior/

ศุภชัย อาชีวระงับโรค. (2546). Practical PDCA: แก้ปัญหาและปรับปรุงงานเพื่อความสำเร็จ. ซีโนดีไซน์.

สุระพรรณ พนมฤทธ์, ศุกร์ใจ เจริญสุข, และนันทิกา อนันต์ชัยพัฒนา. (2554).

การพยาบาลและการศึกษา, 4(2), 94-107. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/1519/1243

Bengtsson, L. (2019). Take-home exams in higher education: A systematic review. Education Science, 9(4), 1-16. https://www.researchgate.net/publication/337093684_Take-Home_Exams_in_Higher_Education_A_Systematic_Review

University of Birmingham. (2021). Take-home exam guidance. https://www.birmingham.ac.uk/documents/university/hefi/take-home-exam-guidance.pdf

University of Melbourne. (2022). What are take-home exams. https://students.unimelb.edu.au/academic-skills/explore-our-resources/exam-prep/take-home-exams

Williams, J. B. & Wong, A. (2009). The efficacy of final examinations: A comparative study of closed-book, invigilated exams and open-book, open-web exams, British Journal of Educational Technology, 40(2), 227-236. https://doi.org/10.1111/j.1467-8535.2008.00929.x

Yamane, T. (1967). Elementary Sampling Theory. Prentice Hall.