ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกฝึกงานในสถานประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

Main Article Content

ปาริชาติ บัวเจริญ
ประภัสสร สมสถาน
นพรัตน์ เตชะพันธ์รัตนกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อความสำคัญของปัจจัย ที่มีผลต่อการเลือกฝึกงานในสถานประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาหลักสูตรเทียบโอนชั้นปีที่ 3 และหลักสูตรปกติชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 300 คน รวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นต่อความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกฝึกงานในสถานประกอบการของนักศึกษาที่มีความสำคัญมาก ได้แก่ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ด้านตัวนักศึกษาและด้านภาพลักษณ์ของสถานประกอบการ เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกฝึกงานในสถานประกอบการของนักศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของสถานประกอบการ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านตัวนักศึกษา จำแนกตามเพศมีความแตกต่างกัน แต่เมื่อจำแนกตามหลักสูตร พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทุกด้าน และเมื่อจำแนกตามสาขา พบว่า สาขาวิศวกรรมเครื่องกลให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัจจัยด้านนักศึกษา แตกต่างจากสาขาอื่น ๆ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

Article Details

How to Cite
บัวเจริญ ป. . ., สมสถาน ป. . ., & เตชะพันธ์รัตนกุล น. . (2023). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกฝึกงานในสถานประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 32(2), 112–127. https://doi.org/10.14456/pyuj.2022.19
บท
บทความวิจัย

References

ไทย สีสิทธิ์. (2546). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง: ศึกษากรณีอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. Digital Research Information Center. https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/139379

ประภัสสร สมสถาน, จตุพล ยงศร, และจักรกฤษณ์ โปณะทอง. (2562). การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพ ความคาดหวังเกี่ยวกับคุณลักษณะ จิตบริการของนักศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(6), 2424 - 2438.

ปณัสยา พิมพ์กลาง. (2562). ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเลือกสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2 (443-450). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ภาวิณี บุญจันดา,ธนาภัสสร์ สนธิรักษ์, ฐิติรัตน์ รักษาศรี, รังสรรค์ หล้าคำจา และ วิมลพร ระเวงวัลย์. (2564). การศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจเลือกสถานประกอบการในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 95 - 110.

ศิริพร เจริญศรีวิริยะกุล (2559). การศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจเลือกสถานประกอบการในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาคณะเทโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (รายงานการวิจัย), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์,ศุภกร เสรีรัตน์ และปริญ ลักษิตานนท์.(2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

อดิเรก นวลศรี, ณิชาภา ยศุตมธาดา, และ Heng, W. (2560). ปัจจัยในการเลือกอาชีพของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารช่อพะยอม, 28(1), 115 - 123.

Maslow, A. H. (1981). A Theory of Human Motivation. Motivation and Personality (pp. 35-58). Prabhat Prakashan. https://books.google.com.sg/books?id=DVmxDwAAQBAJ

Mcleod, S. (2022, April 04). Maslow's hierarchy of needs. Simplypsychology. http://www.simplypsychology.org/maslow.html