ความแตกต่างการเขียนคำยืมภาษาจีนในภาษาไทยที่ภาษาจีนเป็นคำเดียวกัน

Main Article Content

รัชตพล ชัยเกียรติธรรม
พิมพ์ฟ้า สุวรรณหงษ์

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอให้เห็นความแตกต่างด้านการเขียนคำยืมภาษาจีนในภาษาไทยที่ภาษาจีนเป็นคำเดียวกันในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (2556) และพจนานุกรมคำใหม่เล่ม 1-2 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2557) ซึ่งพบว่า คำยืมภาษาจีนในภาษาไทยที่เขียนแตกต่างกันมีทั้งหมด 17 หมวด โดยหมวด菜 (cài) ปรากฏมากที่สุด 11 คำ หรือร้อยละ 17.18 จากคำยืมทั้งหมด 64 คำ ทั้งยังปรากฏการเขียนเป็นพยางค์ได้มากที่สุด 4 แบบ ได้แก่ พยางค์ “ฉ่าย” “ช่าย” “ไช”  และ “ไช้” โดยพยางค์ “ฉ่าย” และพยางค์ “เต้า” ปรากฏเป็นจำนวนมากที่สุด 6 คำ ส่วนสาเหตุที่คำยืมภาษาจีนในภาษาไทยเขียนแตกต่างกันเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ 1) สำเนียงภาษาจีนแต่ละถิ่น 2) ระบบความหมาย และ 3) ความลักลั่นด้านการเขียน ดังนั้น ผู้ใช้ภาษาไทยจึงจำเป็นต้องเรียนรู้และจดจำความแตกต่างการเขียนคำยืมภาษาจีนดังกล่าว เพื่อนำไปสื่อสารได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
ชัยเกียรติธรรม ร. ., & สุวรรณหงษ์ พ. . (2023). ความแตกต่างการเขียนคำยืมภาษาจีนในภาษาไทยที่ภาษาจีนเป็นคำเดียวกัน. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 32(2), 128–147. https://doi.org/10.14456/pyuj.2022.20
บท
บทความวิชาการ

References

ชลธิชา บำรุงรักษ์. (2555). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา “หัวข้อศึกษาเฉพาะด้านระบบคำและประโยค ภ. 802”. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชัยวัฒน์ มีสัณฐาน. (2555). ชาวมลายูบางกอก: ภาษาและเรื่องเล่า. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 30(2), 24-42.

เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. (2560). พจนานุกรมจีน-ไทย ฉบับใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 34). อมรการพิมพ์.

นวรัตน์ ภักดีคำ. (2553). จีนใช้ไทยยืม. อมรินทร์.

นววรรณ พันธุเมธา. (2559). คลังคำ (พิมพ์ครั้งที่ 7). อมรินทร์.

พิชณี โสตถิโยธิน. (2555). คำยืมภาษาจีนแต้จิ๋วในภาษาไทย: ปรากฏการณ์ที่วงศัพท์อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงความหมาย. วารสารจีนศึกษา, 5(5), 129-162.

พจนานุกรมฉบับมติชน = Matichon dictionary of the Thai language. (2547). มติชน.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. นานมีบุ๊คส์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2550). หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาจีนและภาษาฮินดี. อมรินทร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). พจนานุกรมคำใหม่ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1-2. นานมีบุ๊คส์.

ราชบัณฑิตยสภา. (2561). อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสภา (พิมพ์ครั้งที่ 23 (แก้ไขเพิ่มเติม)). ราชบัณฑิตยสถาน.

ราชบัณฑิตยสภา. (2564, 29 มิถุนายน). ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง. สำนักงานราชราชบัณฑิตยสภา. https://www.orst.go.th/iwfm_list.asp?n=g&i=0020000402001002%2F65GLN5247041

ลัดดา วรลัคนากุล. (ม.ป.ป). คำภาษาจีนในภาษาไทย (๑). สำนักงานราชราชบัณฑิตยสภา. http://legacy.orst.go.th/?knowledges=คำภาษาจีนในภาษาไทย-๑

วรศักดิ์ มหัทธโนบล. (2555). คำจีนสยาม ภาพสะท้อนปฏิสัมพันธ์ไทย–จีน. อมรินทร์.

บักกุดเต๋. (2565, 6 กุมภาพันธ์). วิกิพีเดีย. https://th.wikipedia.org/wiki/บักกุดเต๋

สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2544). หลักภาษาไทย. ไทยวัฒนาพานิช.

อนุมานราชธน, พระยา, (2499). นิรุกติศาสตร์. รุ่งเรืองธรรม.