ปัจจัยที่มีผลต่อส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อ เครื่องจักรกลการเกษตร ในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

เขมิกา ธนธำรงกุล
ปรีดา ศรีนฤวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม ของเกษตรกร 2) ระดับความสำคัญส่วนประสมทางการตลาดของเกษตรกร และ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อ ส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรของเกษตรกร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัย คือ เกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 397 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์พหุถดถอย (Multiple regression) โดยใช้วิธีการแบบ Enter
ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 55 ปี มีการศึกษา ในระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มีสถานภาพสมรส มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน มีจำนวนแรงงานรวมในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน มีขนาดพื้นที่ถือครองในครัวเรือนเฉลี่ย 7.39 ไร่ มีรายได้รวมในครัวเรือนเฉลี่ย 170,682.62 บาทต่อปี ส่วนใหญ่เกษตรกรไม่มีตำแหน่งทางสังคมและมีระยะเวลาในการทำเกษตรเฉลี่ย 23 ปี 2) เกษตรกรให้ความสำคัญต่อส่วนประสมทางการตลาด โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.73) และ 3) ปัจจัยที่มีผลเชิงบวกต่อส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรของเกษตรกร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีจำนวน 4 ตัวแปร ได้แก่ เพศ (ชาย) อายุ จำนวนแรงงานในภาคการเกษตร รายได้รวมของครัวเรือน ในขณะเดียวกันปัจจัยที่มีผลเชิงลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ ระยะเวลาการทำการเกษตร

Article Details

How to Cite
ธนธำรงกุล เ. . ., & ศรีนฤวรรณ ป. . . (2023). ปัจจัยที่มีผลต่อส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อ เครื่องจักรกลการเกษตร ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 33(1), 18–34. https://doi.org/10.14456/pyuj.2023.2
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2557). คู่มือการเตรียมความพร้อมและสร้างเครือข่ายภาคอุตสาหกรรมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. ผู้แต่ง.

กานต์ ไทยสีหราช. (2560). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อยอดขายเครื่องจักรและชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องจักรที่ลดลงของบริษัทแห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 5(2), 108-119. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtermutt/article/view/213729

เจษฎา อุดมกิจมงคล. (2554). อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร. สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.

ดนัย ณรงค์ฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรถแทรกเตอร์ของเกษตรกรในเขตจังหวัดนครสวรรค์. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. ThaiLIS Digital Collection.

นักการตลาด. (2561, 10 มกราคม). อนาคต เกษตร ในไทยแลนด์ 4.0. https://marketeeronline.co/archives/7375.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.

ประสิทธิ์ สุนทรวาณิชย์กิจ. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องจักรกลมือสองของกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย กรณีศึกษา บริษัท ABC จำกัด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น]. ThaiLIS Digital Collection.

ปรารถนา อุดมอานุภาพสุข และบุญญสิทธิ์ วรจันทร์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องยนต์ดีเซลเล็กของเกษตรกร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 37(1), 51-60. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/179917

ภัทราพร เกษสังข์. (2559). การวิจัยปฏิบัติการ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่. (2564). ข้อมูลพื้นฐานการเกษตร จังหวัดเชียงใหม่. https://www.opsmoac.go.th/chiangmai-dwl-files-441891791322

สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่. (2565). บรรยายสรุปจังหวัดเชียงใหม่. http://chiangmai.go.th/managing/public/D8/8D17Jan2022133138.pdf

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2565). ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2565 และแนวโน้มปี 2566. https://www.opsmoac.go.th/saraburi-dwl-files-442991791011

อารยา องค์เอี่ยม และพงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. (2561). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. วิสัญญีสาร, 44(1), 36-42.

Kotler, P. & Keller, K. L. (2012). Marketing Management: The millennium (14th ed.) Prentice-Hall.

Slade, G. D., & Spencer, A. J. (1994). Development and evaluation of the oral heal impact profile, Community Dent Health, 11(1), 3-11.

Yamane, T. (1973). Statistics an introductory analysis. Harper & Row.