ทักษะทางวิชาชีพของนักบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของสถานประกอบการในจังหวัดลำปาง

Main Article Content

อนงค์วรรณ อุประดิษฐ์
จิรนันท์ บุพพัณหสมัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็นต่อทักษะทางวิชาชีพของนักบัญชีและคุณภาพรายงานทางการเงิน 2) ทักษะทางวิชาชีพของนักบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของสถานประกอบการในจังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการในจังหวัดลำปาง จำนวน 365 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ ร้อยละ และสถิติอนุมาน วิเคราะห์ด้วยเทคนิคการถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นทักษะทางวิชาชีพภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปหาน้อย คือ ทักษะทางปัญญา ทักษะทางวิชาการเชิงปฏิบัติและหน้าที่งาน ทักษะทางปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการสื่อสาร ทักษะทางคุณลักษณะเฉพาะบุคคล และทักษะทางการบริหารองค์กรและการจัดการธุรกิจตามลำดับ ความคิดเห็นด้านคุณภาพรายงานทางการเงินภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปหาน้อยคือ ความทันเวลา ความสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ ความสามารถเข้าใจได้ และความสามารถเปรียบเทียบได้ตามลำดับ ส่วนผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ทักษะทางวิชาชีพของนักบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของสถานประกอบการในจังหวัดลำปาง ได้แก่ ทักษะทางปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการสื่อสาร ทักษะทางปัญญา ทักษะทางวิชาการเชิงปฏิบัติและหน้าที่งาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นทักษะทางคุณลักษณะเฉพาะบุคคล และทักษะทางการบริหารองค์กรและการจัดการธุรกิจ ที่ไม่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของสถานประกอบการในจังหวัดลำปาง

Article Details

How to Cite
อุประดิษฐ์ อ. . ., & บุพพัณหสมัย จ. . . (2023). ทักษะทางวิชาชีพของนักบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของสถานประกอบการในจังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 33(1), 66–79. https://doi.org/10.14456/pyuj.2023.5
บท
บทความวิจัย

References

ณฐภัทร หงษ์พงษ์. (2560). ผลกระทบของทักษะทางวิชาชีพที่มีผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและนนทบุรี [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณฐา ธรเจริญกุล. (2561). สมรรถนะของพนักงานบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงาน กรณีศึกษา สถานประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 24(1), 58-70.

ณัฐวุฒิ ตันติเศรษฐ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของงบการเงินและประสิทธิผลในการตัดสินใจของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 6(2), 20-35.

ทวิชชัย อุรัจฉัท และชุมพล รอดแจ่ม. (2559). ความรู้และความสามารถทางวิชาชีพของนักบัญชีตามมาตรฐานระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานประกอบการ เขตอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(2), 165-177.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 11). บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ปิยพงศ์ ประไพศรี และกาญจนา นันทพันธ์. (2563). แนวทางการพัฒนาวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12), 421-435.

ไพสรณ์ สูงสมบัติ. (2564). ทักษะทางวิชาชีพและมาตรฐานในการปฏิบัติงานของนักบัญชีที่มีผลกระทบต่อ คุณภาพรายงานงบการเงิน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(1), 272-284.

ภัทราพร อุระวงษ์ และเบญจพร โมกขะเวส. (2564). ทักษะการปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารที่มีต่อผลการปฏิบัติงาน ทางบัญชี ของนักบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(8), 282-295.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีว่าด้วยจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2561. ผู้แต่ง. https://www.tfac.or.th/upload/9414/SVpkG8ASWk.pdf

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2565ก). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 3 เรื่องทักษะทางวิชาชีพ. ผู้แต่ง. http://fap.or.th.a33.readyplanet.net/images/column_1359010350/3.pdf

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2565ข). กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน (ปรับปรุง 2558). ผู้แต่ง. https://www.tfac.or.th/upload/9414/ UW0ynKPwuW.pdf

สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำปาง. (2565). ข้อมูลเศรษฐกิจการค้าจังหวัดลำปาง. https://pcoc.moc.go.th/view/Factsheet.aspx?pv=52

อมร โททำ. (2559). คุณภาพรายงานทางการเงินของบริษัทจํากัดในเขตอำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 10(3), 223-231.

Cortina, J. M. (1993). What is coefficient alpha: An examination of theory and applications? Journal of Applied Psychology, 78(1), 98-104.

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory (3rd ed.). McGraw-Hill.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. (3rd ed). Harper and Row.