ศักยภาพและแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านมณีพฤกษ์ ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ศักยภาพและแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านมณีพฤกษ์ ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 2) ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และ 3) เสนอแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) มีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ นักท่องเที่ยว รวมถึงผู้นำและคณะกรรมการหมู่บ้าน ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือใช้ สถิติวิเคราะห์ด้วยการทดสอบความสัมพันธ์ไคสแควร์เทสต์ (2–test) สถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสรุปแบบสัมภาษณ์ จากการศึกษาพบว่า บ้านมณีพฤกษ์มีศักยภาพด้านสถานที่และเส้นทางธรรมชาติ ระบบการจัดการด้านความสะอาดและความปลอดภัย ปัจจัยที่สัมพันธ์กับศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คือ ระบบการจัดการความปลอดภัยและการจัดการความสะอาด (2 = 8.168, Sig. = .017) ที่ระดับนัยสำคัญ ทางสถิติ 0.05 สำหรับแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมี 3 องค์ประกอบหลัก คือ ชุมชน ภาครัฐ และภาคเอกชน มีส่วนร่วมในการวางแผนและแบ่งปันผลประโยชน์ การสนับสนุนงบประมาณ ในการดำเนินกิจกรรมโดยภาครัฐ จัดให้มีกลไกการติดตามประเมินผลร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ การให้บริการของเอกชนให้มีมาตรฐานและผู้นำชุมชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาท้องถิ่นร่วมกับภาครัฐ
Article Details
References
กุลวดี จันทร์วิเชียร, เตชิตา สุทธิรักษ์, อรรณพ ขำขาว, พัทธนันท์ อธิตัง, และวิสุตร์ เพชรรัตน์. (2564). ปัจจัยความสำเร็จของการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของชุมชนหมู่บ้านคีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารรัชตภาคย์, 15(40), 264-273.
ธนกฤต แดงทองดี. (2565). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ (Ecotourism): การท่องเที่ยววิถีอนุรักษ์ ผสานคน กับ ธรรมชาติ เป็นหนึ่งเดียวกัน. มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. https://www.seub.or.th/bloging/ knowledge/ecotourism/
ภูวดล บัวบางพลู. (2561). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(2), 91-101.
นิภาไล สวาสดิ์ฉัตรภูมิ และณัฏฐกฤษฎิ์ เอกวรรณัง. (2565). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนบ้านชายทะเลกาหลง อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร. ใน พิมพร ทองเมือง และ ศิริลักษณ์ จิตต์ระเบียบ (บก.), การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานระดับชาติ ครั้งที่ 4 “Graduate School Conference 2022 2022 iHappiness: ความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนในยุคสังคมดิจิทัล” (น. 356-363). มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา วิทยาเขตสมุทรสงคราม.
นุชประวีณ์ ลิขิตศรัณย์. (2562). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดพิจิตร. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 14(1), 28–41. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ tourismtaat/article/view/175024/125239
มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2548). โครงการวิจัยยุทธศาสตร์การพัฒนาบริเวณเหนือเขื่อนภูมิพลเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. ผู้แต่ง
วรกันยา พรหมพล และอัจฉรา วัฒนภิญโญ. (2561). ความพร้อมของชุมชนกับการพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของวนอุทยานน้ำตกผาหลวง จังหวัดอุบลราชธานี. Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(2), 2623-2629.
แวคอดีเย๊าะ มะรอแม. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดปัตตานีภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. ThaiLIS Digital Collection.
เสาวคนธ์ ฟรายเก้อ. (2562). แนวทางพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศึกษา กลุ่มเขาออกการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. ThaiLIS Digital Collection.
Kotler, P. (1997). Marketing management: Analysis, planning, implementation, and control (9th ed). Prentice Hall.
World Tourism Organization. (2022). Glossary of tourism terms. https://www.unwto.org/glossary-tourism-terms.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). Harper and Row.