การใช้โครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษในการเขียนข่าวนำของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ออนไลน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบลักษณะโครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษที่ปรากฏในข่าวนำของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ออนไลน์ จากข่าวสถานการณ์ Covid-19 ข่าวการเมือง ข่าวธุรกิจ และข่าวกีฬา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข่าวนำของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ออนไลน์ จำนวน 1,002 ข่าวนำ รวมทั้งสิ้น 1,037 ประโยค ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ โครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษ จำนวน 4 โครงสร้าง ได้แก่ ประโยคความเดียว (Simple Sentence), ประโยคความรวม (Compound Sentence), ประโยคความซ้อน (Complex Sentence) และ ประโยคความรวมและความซ้อน (Compound Complex Sentence) (Hogue & Oshima, 2006) สถิติที่ใช้ในการวิจัยเพื่อเปรียบเทียบหาค่าความถี่ของประโยคที่ปรากฏ ของแต่ละประเภท คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าร้อยละ (Percentage) ผลการศึกษาโดยรวม ทั้ง 4 ประเภทข่าว พบโครงสร้างประโยคความซ้อน (Complex Sentence) มากที่สุด จำนวนทั้งสิ้น 738 ประโยค คิดเป็นร้อยละ 71.17 รองลงมา คือ โครงสร้างประโยคความเดียว (Simple Sentence) จำนวน 241 ประโยค คิดเป็นร้อยละ 23.24 ประโยคที่พบมากเป็นลำดับที่สาม คือ โครงสร้างประโยคความรวมและประโยคความซ้อน (Compound Complex Sentence) จำนวน 36 ประโยค คิดเป็นร้อยละ 3.47 และพบโครงสร้างประโยคความรวม (Compound Sentence) น้อยที่สุด จำนวน 22 ประโยค คิดเป็น ร้อยละ 2.12 ทั้งนี้ จากผลการศึกษาลักษณะโครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษที่ปรากฏในข่าวนำสามารถนำไปใช้ในการสอน โครงสร้างของประโยคในการเขียนในแบบต่าง ๆ ได้
Article Details
References
กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค. (ม.ป.ป.). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ind_world.php
กันยารัตน์ เกตุขำ. (2560). ภาษาอังกฤษเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
เกรียงศักดิ์ สานะกัง และ อิลนัส จัมชิดเซฮี. (2563). วิเคราะห์สำนวนภาษาพาดหัวข้อข่าวกีฬาภาษาอังกฤษในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. 9(2), 71-82. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/252712
ณพวัสส์ ธัมพิพิธ. (2553). จับจุดไวยากรณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐกานต์ เส็งชื่น และสิรินญา ศรีชมภู. (2565). การวิเคราะห์โครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษที่ปรากฏในข่าวการท่องเที่ยวของ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ออนไลน์. ใน ชมนาด อินทจามรรักษ์, อภิชัย รุ่งเรือง และอุษา พัดเกต (บก.), รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ เครือข่ายความร่วมมือวิชาการ-วิจัย สายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 14 ณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (น. 217-229). มหาวิทยาลัยนเรศวร.http://www.human.nu.ac.th/HUSOC14/25640823nation.pdf
นเรศ สุรสิทธิ์. (2550). ENGLISH GRAMMAR IN USE (พิมพ์ครั้งที่ 8). พี.เอส. เพรสกำจัด.
นิลรัตน์ กลิ่นจันทร์. (2546). Structure and writing in English (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บริษัทบางกอก โพสต์์ จำกัด (2562). รายงานประจำปี 2562. ผู้แต่ง. https://www.bangkokpost.co.th/annualreport/annual2019/annual_report_2019_thai.pdf
ปริศนา ชนะชัย. (2558). การศึกษาการละโครงสร้างทางไวยากรณ์ และการใช้รูปแบบต่างๆ ในพาดหัวข่าวการเมืองในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].
พิมพพิศา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2559). English grammar for beginners. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิสุทธิ์พงศ์ เอ็นดู. (2562). การวิเคราะห์โครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษที่ใช้ในการเขียนข่าวนำที่ปรากฏในข่าวการศึกษาไทยในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ออนไลน์. วิวิธวรรณสาร. 3(1), 29-54.
ภาคภูมิ หรรนภา. (2555). การเขียนข่าวเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). ทีคิวพี จำกัด.
รุ่งเพชร ศรีอุทุมพร. (2563). ไวยากรณ์อังกฤษเบื้องต้น ฉบับง่ายจนบอกต่อ. พิมพ์สวย.
วาริศา พลายบัว. (2548). การเขียนข่าว. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สิริวรรณ นันทจันทูล. (2543). การเขียนข่าวเพื่อการสื่อสาร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สายฝน คิมอิ๋ง. (2555). การวิเคราะห์โครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษในคอลัมน์ Star Biographic ใน นิตยสาร Student Weekly [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].
สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2565). งานข่าว: หลักการและเทคนิค (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สำราญ คำยิ่ง. (2557). Advanced English grammar for high learner (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ.
อวยพร พานิช, อุบลวรรณ ปิติพัฒนะโฆษิต, อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์, ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ และไศล ทิพย์ จารุภูมิ. (2553). ภาษาและหลักการเขียนเพื่อการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 6). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาภรณ์ชนิศ แสงสังข์ และณัฐกานต์ เส็งชื่น. (2565). รูปแบบการเขียนข่าวนำแบบสรุปความภาษาอังกฤษจากข่าวสถานการณ์โควิด19ของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์และเดอะเนชั่นออนไลน์. อักษราพิบูล. 3(2), 117-132. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/258234/174332
อัคร์ณัฐฏ์ ปาลวัฒน์. (2557). การวิเคราะห์โครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษที่ปรากฏใน Error Messages ของ MS Windows Error Code Lookup Utility Version 2.9 [งานนิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].
British Council. (n.d.). Participle clauses. https://learnenglish.britishcouncil.org/grammar/b1-b2-grammar/participle-clauses#:~:text=Participle%20clauses%20enable%20us%20to,having%20walked%2C%20etc.)
Hogue, A., & Oshima A. (2006). Writing academic English (4th edition). Person Education.
Itule, B. & Anderson, D. (2000). News writing and reporting for today's media. https://www.researchgate.net/publication/36832645_News_Writing_and_Reporting_for_Today's_Media
Richardson, B. (2007). The Process of writing news: From information to story. Pearson Education.