ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องการเขียนสะกดคำของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดสิทธาราม อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน

Main Article Content

ประภากร บุญรอต
บุษบา บัวสมบูรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเขียน สะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิด การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดสมองเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนวัดสิทธาราม อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง จำนวน 22 คน คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการเขียนสะกดคำ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องการเขียนสะกดคำและแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเรื่องการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เรื่องการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด

Article Details

How to Cite
บุญรอต ป. . ., & บัวสมบูรณ์ บ. . . (2023). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องการเขียนสะกดคำของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดสิทธาราม อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 33(1), 147–160. https://doi.org/10.14456/pyuj.2023.10
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ. (2544). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. ผู้แต่ง.

กำชัย ทองหล่อ. (2556). หลักภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 54). รวมสาส์น.

ทัศนีย์ ศุภเมธี. (2542). วิธีสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. ธนะการพิมพ์.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญญรัตน์ อุยโต. (2561). การพัฒนาทักษะการเขียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนคิรทรวิโรฒประสานมิตร].

ภริตา การะภาพ (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning : BBL) ร่วมกับการใช้สื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].

มาลัย พงษ์อนันต์. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านและการเขียนสะกดคำพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบเชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา].

ราชบัณฑิตสถาน. (2556). พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. นานมีบุคส์พลับบิเคชั่นส์.

โรงเรียนวัดสิทธาราม. (2564ก). ค่าเฉลี่ยการทดสอบ National Test ด้านภาษา ปีการศึกษา 2564. https://data.bopp-obec.info/web/index_view_history.php?School_ID=1015670126&page=work

โรงเรียนวัดสิทธาราม. (2564ข). หลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง.

วิทยากร เชียงกูล. (2548). เรียนลึก รู้ไว ใช้สมองอย่างมีประสิทธิภาพ. อมรินทร์พริ๊นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2549). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม.

สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ. (2549). การเรียนรู้ตามหลักการเรียนรู้ทางสมอง. สุวีริยาสาส์น.

สุนทร โครตบรรเทา. (2548). หลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน. สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.

สุรางค์ โค้วตะระกูล. (2556). จิตวิทยาการศึกษา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โสภิตา มูลเทพ. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนสะกดคําของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเกมการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(2), 550-568.

อัจฉรา ชีวพันธ์. (2553). คู่มือการสอนภาษาไทย กิจกรรมการเล่นประกอบการสอน. ไทยวัฒนาพานิช.

Caine, R. N. & Caine, G. (1990). Understanding a brain based approach to learning and teaching. Education Leadership.

Jensen, E. (2000). Brain-based learning. Brain Store.

Morris, L. T. (2010). Brain-based learning and classroom practice: A study investigating instructional methodologies of urban school teachers. Arkansas State University.

Pennington, E. P. (2010). Brain-based learning: The incorporation of movement to increase learning of grammar by high school students [Doctor of Education Thesis, Liberty University].