แนวทางการจัดการความเสี่ยงสำหรับธุรกิจนำเที่ยวหลังภาวะปกติใหม่ : กรณีศึกษาบริษัทนำเที่ยว เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาความเสี่ยงของธุรกิจนำเที่ยว เขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการความเสี่ยงธุรกิจนำเที่ยว เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้แบบสัมภาษณ์ กึ่งมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการบริษัทนำเที่ยวในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 4 บริษัท จากนั้นจึงวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับแนวคิดการจัดการความเสี่ยง
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ประสบปัญหาด้าน ความเสี่ยง คือ การขาดกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพต่อการจัดการความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน, การตลาด, สังคม และเศรษฐกิจ ทั้งนี้ แนวทางการจัดการความเสี่ยงสำหรับธุรกิจนำเที่ยวหลังภาวะปกติใหม่ (Post New Normal) จึงควรเตรียมความพร้อมด้านสภาพแวดล้อมภายในองค์กร ให้สามารถสร้าง กลยุทธ์ที่ทันต่อเหตุการณ์ ดังนำเสนอด้วยแบบจำลองทักษะ (Skill Maping) ประกอบด้วยการเรียนรู้ทักษะเดิม (Upskill) ได้แก่ บริการ, นวัตกรรมเทคโนโลยี และการจัดการทุน สำหรับการเรียนรู้ ทักษะใหม่ (Reskill) เพื่อเสริมสร้างความรู้ใหม่ ได้แก่ คุณภาพบริการเป็นการนำศาสตร์ทางจิตวิทยาและการคิดเชิงออกแบบมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการ, การออกแบบเป้าหมายองค์กรหรือทักษะอื่น ๆ ทั้งนี้ ทักษะข้างต้นจะช่วยส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการจัดการความเสี่ยงสำหรับธุรกิจนำเที่ยว หลังภาวะปกติใหม่ (Post New Normal) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศไทยรายจังหวัด. https://www.mots.go.th/news/category/655
ขวัญฤทัย เดชทองคำ. (2563). ความสำคัญของคุณภาพการบริการสู่ความสำเร็จของธุรกิจท่องเที่ยว ภายใต้วิกฤติ COVID-19. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 21(3), 317-326.
จิรพร สุเมธีประสิทธิ์. (2554). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยง. ใน วรรณี ชลนภาสถิตย์ (บก.), เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการความเสี่ยงและหลักการประกันภัย (หน่วยที่ 1, น. 1-20). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ตราดุลย์ นรนิติผดุงการ, และนฤมล อนุสนธิ์พัฒน์. (2563). การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ส่งผลกระทบ ต่อการท่องเที่ยวไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(4), 174-189.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และปทุมพร แก้วคำ. (2558). ธุรกิจนําเที่ยว (Tour Business) (พิมพ์ครั้งที่ 3). เฟิร์นขาหลวง พริ้นติ้งแอนดพลับบลิชิ่ง.
พรรณนุช ชัยปินชนะ และ ณัฏฐ์ปาลิดา ศรีคาหน้อย. (2560). การจัดการความเสี่ยงของธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปภัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 23(2). 46-55
นิสิตภาควิชาศิลปาชีพลุ่มที่ 6 ปีการศึกษา 2558. (2559, 1 มกราคม). การจัดการความเสี่ยงสำหรับธุรกิจนำเที่ยวของผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวออกนอกประเทศ (Outbound Tour Operator). คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. http://kuhumcs.blogspot.com/2016/01/inbound_59.html
เมเยอร์, คริสโตเฟอร์ (2549). It’s Alive: ธุรกิจมีชีวิต. (แปลโดย วิทยา สุหฤดำรง). เนชั่นบุ๊คส์. (ต้นฉบับพิมพ์ปี 2003).
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (2564, 14 กุมภาพันธ์). วิเคราะห์ผลกระทบของของโควิด-19 ต่อธุรกิจ ท่องเที่ยว. https://tdri.or.th/2021/02/covid-112/
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2564). การประเมินความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยง ประจำปี 2564 ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. https://www.depa.or.th/storage/app/media/file/o36-64.pdf
สมชาย หิรัญกิตติ และจีราภรณ์ สุธัมมสภา (2562). การประเมินผลงานด้วยตัวชี้วัดสมรรถนะ. ใน สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการสอนชุดวิชา การจัดการเชิงกลยุทธ์และการจัดการเพื่อสร้างสมรรถนะ (หน่วยที่ 2, น.164-178). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุรเดช ศรีอังกูร. (2561, 18 พฤศจิกายน). หลักคิดสำคัญของการบริการจัดการความเสี่ยง [Status update]. Facebook. https://www.facebook.com/Riskroom/posts/1951235311847210/?_rdc=2&_rdr
พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551. (2551, 6 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 29 ก. หน้า 1.
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). (2566). การบริหารจัดการความเสี่ยง. https://www.businesseventsthailand.com/th/about-us/corporate-fraud-risk-management
Patrizio, A. (2021, October 21). Top 12 risk management skills and why you need them. https://www.techtarget.com/searchcio/feature/Top- 12-risk-management-skills-and-why-you-need-them
Oroian, M., & Gheres, M. (2012). Developing a risk management model in travel agencies activity: An empirical analysis. Tourism Management, 33(6), 1598-1603.