ระดับความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อการให้บริการยานพาหนะผ่านแอปพลิเคชัน ในเขตภาคเหนือตอนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงสำรวจฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้บริโภค ต่อการให้บริการยานพาหนะผ่านแอปพลิเคชัน ในเขตภาคเหนือตอนบน โดยเปรียบเทียบระดับ ความพึงพอใจจำแนกตามระดับรายได้ของผู้บริโภค ขนาดของกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 385 คน สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผ่านระบบออนไลน์ สถิติเชิงอนุมาน ที่นำมาทดสอบความแตกต่างของระดับความพึงพอใจของผู้บริโภคใช้สถิติ t-test
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้มีรายได้แตกต่างกันมีระดับความพึงพอใจแตกต่างกันในปัจจัยย่อยด้านอัตราค่าบริการที่มีความเหมาะสมต่อระยะทาง และด้านความเหมาะสมของราคากับคุณภาพ ของรถยนต์ และยังพบความแตกต่างในปัจจัยย่อยด้านโปรโมชั่นลดราคาสำหรับผู้ใช้บริการเป็นครั้งแรกและการมอบสิทธิประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการเพื่อจูงใจให้กลับมาใช้อีก นอกจากนั้นยังพบว่า กลุ่มผู้บริโภค ที่มีระดับรายได้ต่างกันมีระดับความพึงพอใจต่างกันในด้านความสุภาพของผู้ขับรถ ด้านความสะอาด ในการแต่งกายของผู้ขับรถ ด้านความรู้ที่มีต่อเส้นทางการเดินทางของผู้ขับรถ รวมถึงการที่ผู้ขับรถ ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด และยังพบอีกว่า ระดับความพึงพอใจที่แตกต่างกัน ด้านสภาพของรถยนต์ รวมถึงระดับความพึงพอใจที่แตกต่างกันด้านการแจ้งราคาค่าโดยสาร ก่อนรับบริการ ซึ่งความแตกต่างในแต่ละประเด็นข้างต้น มีความแตกต่างกัน ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.05
Article Details
References
กรมการขนส่งทางบก. (2560). การรับเรื่องร้องเรียน จำแนกตามเรื่องร้องเรียน ปีงบประมาณ 2560. https://data.go.th/dataset/1584c
คมนาคม ดีเดย์ พ.ย.นี้ เรียกรถผ่านแอพถูกกฎหมาย สตาร์ท 40 บาท. (2564, 1 ตุลาคม). ไทยโพสต์. https://www.thaipost.net/main/detail/118474
ชนิตา แหลมคม และกัญญา ณ ป้อมเพ็ชร์. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการเรียกรถแท็กซี่ ผ่านแอปพลิเคชัน Grab ของผู้โดยสารในเขตภาคกลาง. วารสารการบริหารและการจัดการ. 8(2). 151-174.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2562). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 7). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โชติมา ชูกุล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการแอปพลิเคชันเรียกรถยนต์โดยสารของ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณภัทรา เกียรติพงษ์. (2558). การศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชั่น เรียกรถยนต์โดยสารของผู้บริโภค. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์, และศุภร เสรีรัตน์. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่. ธรรมสาร.
Cardozo, R. (1965). An experimental study of consumer effort, expectations and satisfaction. Journal of Marketing Research. 2(3). 244-249.
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). John Wiley & Sons.
Fayossy (2560, 27 มีนาคม). นิด้าโพลเผยเสียงสะท้อนจากประชาชนกรณี Uber TAXI. MarketingOops. https://www.marketingoops.com/reports/research/nida-research-uber-taxi/
Grab. (2565). บริการจากแกร็บในแต่ละเมืองทั่วไทย. https://www.grabdriverth.com/service-cities
Kotler, P. (1967). Marketing management: Analysis, planning, implementation, and control (3rd ed.). Prentice-Hall.
NALISA. (2562, 17 ตุลาคม). ตลาดบริการเรียกรถผ่านแอปฯ มูลค่า 21,000 ล้าน. MARKETEER. https://marketeeronline.co/archives/126667
Olander, F. (1979). Consumer satisfaction: A sceptic’s view. Aarhus Denmark.
Yi, Y. (1989). A critical review of consumer satisfaction [Unpublished working paper]. University of Michigan.