แนวทางการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3

Main Article Content

ก้องเกียรติ วงค์ทอง
ธีรภัทร ประสมสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบผสมผสานเพื่อศึกษาแนวทางการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะ ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ของผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 19 โรงเรียน รวมประชากรทั้งสิ้น 348 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนนำร่องนวัตกรรมในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 โดยภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะของผู้บริหาร ด้านการจัดทำหลักสูตรระดับชั้นเรียน และด้านการนำผลการใช้หลักสูตรสู่การปรับปรุงกรอบหลักสูตรให้สมบูรณ์ เฉลี่ยอยู่ระดับมากที่สุด และด้านการใช้หลักสูตร/การพัฒนาผู้เรียนสู่สมรรถนะ เฉลี่ยอยู่ที่ระดับมาก สรุปผล การวิเคราะห์ข้อมูลแนวทางการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดอบรมครูเกี่ยวกับ 1) การประเมินเพื่อพัฒนาการประเมินรวบยอดเกณฑ์การจบการศึกษา การรายงานผลการเรียนรู้ 2) การจัดทำคำอธิบายรายวิชา ชุดวิชา หน่วยการเรียนรู้ โครงงาน กิจกรรม ผลลัพธ์การเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้ 3) การสอนตามแผน เน้นการเรียนรู้เชิงรุก การประเมินเพื่อพัฒนาระหว่างการเรียนการสอน การประเมินรวบยอด และ 4) การสร้างการรับรู้และความเข้าใจหลักสูตร

Article Details

How to Cite
วงค์ทอง ก. . ., & ประสมสุข ธ. . . (2023). แนวทางการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 33(2), 60–77. https://doi.org/10.14456/pyuj.2023.20
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัมพล เจริญรักษ์. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. วารสารครุทรรศน์, 2(1), 15-28. https://shorturl.asia/pWj2N

คธาวุฒิ สมทรง, กาญจนา บุญส่ง, และไพรัช มณีโชติ. (2563). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง มะพร้าวทับสะแกของโรงเรียนวัดหนองหอย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 10(1), 1-15.

คู่มือแนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ. (ม.ป.ป.). สำนักงานนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. https://shorturl.asia/s4hgU

จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. รัตนสุวรรณการพิมพ์.

ทิพย์วรรณ สุพิเพชร. (2566). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อการศึกษาในอนาคต. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 471-480.

พระมหาอุดร อุตตฺโร (มากดี), พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ (สุขโชโต สุขแจ่ม), พระครูสิริภูรินิทัศน์ (ฐิตสคฺโค ดิษสวรรค์), และพระครูใบฎีกามณฑล เขมโก (ชูโตศรี). (2565). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะกับการจัดการเรียนการสอนของผู้เรียน. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 9(1), 443-445.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 4). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา. (2565). แนวทางการนำสมรรถนะหลัก 5 ประการ สู่การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะในชั้นเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ผู้แต่ง. https://shorturl.asia/ixa6H

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2566). ผลการประเมินการดำเนินงาน การบริหารจัดการ และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา. https://ops.moe.go.th/education-sandbox-mar-2566/

เหมือนฝัน วงเดช, ภูวดล จุลสุคนธ์, และเฉลิมชัย หาญกล้า. (2562). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดลพบุรี. วารสารลวะศรี, 3(1), 133-147.