ศักยภาพและการควบคุมคุณภาพที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสำนักงานบัญชีในเขตภาคเหนือตอนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพและการควบคุมคุณภาพของสำนักงานบัญชีในเขตภาคเหนือตอนบน และ 2) เพื่อทดสอบศักยภาพและการควบคุมคุณภาพที่ส่งผล ต่อความสำเร็จของสำนักงานบัญชีในเขตภาคเหนือตอนบน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 386 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอน
ผลการศึกษา พบว่า ศักยภาพของสำนักงานบัญชี คือ สำนักงานบัญชีมีระยะเวลาในการประกอบธุรกิจ 6 - 10 ปี ในรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคล มีจำนวนลูกค้า 30 - 50 ราย และมีพนักงานผู้ทำบัญชี 5 - 10 คน มีระดับความสำคัญต่อการควบคุมคุณภาพของสำนักงานบัญชี ด้านข้อกำหนดทางจรรยาบรรณ และด้านความรับผิดชอบของผู้บริหารอยู่ในระดับมากที่สุด มีระดับความสำเร็จของสำนักงานบัญชีด้านกระบวนการภายใน และด้านลูกค้าอยู่ในระดับมากที่สุด
ทั้งนี้ การควบคุมคุณภาพของสำนักงานบัญชี ด้านกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า ของสำนักงานบัญชี ด้านการจัดการเอกสาร และด้านการจัดการทรัพยากรตัวแปรที่ร่วมกันพยากรณ์ เป็นตัวแปรที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของสำนักงานบัญชีในเขตภาคเหนือตอนบน ได้ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.838
Article Details
References
กมลวิช วงศ์สาย, พรชนก ทองลาด, และไพฑูรย์ อินต๊ะขัน. (2562). คุณภาพการบริการด้านบัญชีกับความสำเร็จของสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 13(3), 39-54.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2564). รายชื่อสำนักงานบัญชีคุณภาพ (ภาคเหนือ). www.dbd.go.th/ download/account_file/certified_acc/account_qty_north.pdf
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2558). หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ.2558. https://www.dbd.go.th/download/PDF_law/account_2558.pdf
กานดา แซ่หลิ่ว. (2560). ศักยภาพทางการบัญชีมีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในจังหวัดสมุทรปราการ. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม]. Knowledge Bank at Sripatum University.
ธรารินทร์ ใจเอื้อพลสุข. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม]. Knowledge Bank at Sripatum University.
นภาพร หงษ์ภักดี. (2554). การเลือกใช้บริการสำนักงานบัญชีในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ กรณีศึกษา: เขตอำเภอเมืองและอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2(2), 45-65.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). สุวีริยาสาส์น.
ประไพพิศ สวัสดิ์รัมย์. (2558). ระบบคุณภาพของสำนักงานบัญชีในเขตอำเภอเมือง และอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(1), 52-66.
ปิยะ สิมมาสุข. (2560). คุณภาพการจัดการสำนักงานบัญชีในจังหวัดอุตรดิตถ์. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.
ปาริชาติ มณีมัย. (2559). คุณภาพและปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของสํานักงานบัญชีขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(1), 117-128.
เพ็ญธิดา พงษ์ธานี. (2552). รายงานการวิจัย เรื่องปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการบริการของสำนักงานบัญชีในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุธีรา ทิพย์วิวัฒน์พจนา. (2560). ปัจจัยของมาตรฐานการควบคุมคุณภาพที่มีผลต่อความสำเร็จของสำนักงานบัญชีในประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(2), 52-64.
สุภาพร ดอกไม้ทอง และวรวิทย์ เพ็ชรรื่น. (2560). ศักยภาพของสำนักงานบัญชีในเขตภาคเหนือตอนล่าง สำหรับการเป็นสำนักงานบัญชีคุณภาพ. วารสารการวิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชน, 10(1), 121-131.
โสภาพรรณ ไชยพัฒน์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมการบริการทางการบัญชี กับผลการดำเนินงานของสำนักงานบัญชีในจังหวัดภูเก็ต. วารสารศูนย์พัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่, 6(6), 67-77.
อนงค์วรรณ อุประดิษฐ์. (2559). ข้อกำหนดการรับรองคุณภาพของสำนักงานบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการรับรองคุณภาพของสำนักงานบัญชีในจังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 10(4), 60-71.
Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1996). The balanced scorecard : Translating strategies into action. Havard Business School.