กลยุทธ์ทางการตลาดในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ต่อการใช้บริการสปาของลูกค้า ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ณิชรัตน์ อริญชย์ธนโชติ
นัทธ์หทัย ตันสุหัช

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการสปาของลูกค้า ช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษากลยุทธ์ ทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสปาของลูกค้าช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 คน ใช้วิธีการสุ่มโดยบังเอิญ ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษาพบว่า ลูกค้าที่ใช้บริการสปาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 20 - 30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ 15,000 - 25,000 บาท มีพฤติกรรมการใช้บริการสปาเพื่อผ่อนคลายความเครียด ใช้บริการแบบนวดทั้งตัว และตัดสินใจด้วยตนเอง มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า 1,000 บาท และเข้าใช้บริการ 1 - 2 ครั้งต่อเดือน มีระดับความคิดเห็นต่อกลยุทธ์ทางการตลาดระดับมากที่สุด คือ ด้านสถานที่ ทั้งนี้ กลยุทธ์ทางการตลาดด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านบุคลากร ร่วมกันพยากรณ์เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสปาของลูกค้าช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ร้อยละ 32.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.567

Article Details

How to Cite
อริญชย์ธนโชติ ณ. . ., & ตันสุหัช น. . . (2023). กลยุทธ์ทางการตลาดในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ต่อการใช้บริการสปาของลูกค้า ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 33(2), 170–184. https://doi.org/10.14456/pyuj.2023.27
บท
บทความวิจัย

References

กนกรัตน์ ดวงพิกุล. (2564). พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ (เซเว่น อีเลฟเว่น) ของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน. วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ราชมงคลล้านนา, 9(1), 35-45.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2564, 3 ธันวาคม). จำนวนสถานประกอบการเพื่อสุขภาพที่ได้รับอนุญาต ตาม พรบ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 ในประเทศไทย. https://data.go.th/dataset/hss_11_38

จุฑาลักษณ์ กุประดิษฐ์ และเฉลิมพร เย็นเยือก. (2563). พฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงามของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 4(34). 111-124.

ณัฐวดี หอมบุญยงค์. (2563). กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคสำหรับธุรกิจร้านอาหารเปิดใหม่กรณีศึกษา ร้านอาหาร ครัวบ้านยายอาหารทะเล [วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace at Silpakorn University.

พรพิมล สัมพัทธ์พงศ์. (2565). การจัดการแบบ New Normal ต่อการพัฒนาธุรกิจร้านนวดสปาไทยในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(5). 476-491.

ภรภัทร วุฒิวัฒนกุล. (2557). แผนธุรกิจร้านสปาเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. DSpace at Bangkok University.

วิทยา เลิศพนาสิน. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชัน AliExpress ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม]. ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม.

วิศิษย์ ฤทธิ์บุญชัย. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับบริการนวดแผนไทยของนักท่องเที่ยวในโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์). วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิรน, 17(1). 196-206.

ศมน พรหมหิตาทร. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการสปาเพื่อสุขภาพประเภท Day Spa ของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collection.

ศิริวรรณ วรรณศิริ. (2564). การจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจสปาไทยและนวดเพื่อสุขภาพช่วงเวลาวิกฤตโควิด [สารนิพนธ์หลักสูตรการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. CMMU Digital Archive.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาด. พัฒนาศึกษา.

สุภารัตน์ วิเชียรสาร และธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2562). การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับสุกรของผู้ประกอบการเลี้ยงสุกรรายอิสระในพื้นที่เขต 7 ของประเทศไทย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(4). 1308-1322.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดแบบปริมาณลูกโซ่ ฉบับ พ.ศ. 2561. สำนักงานฯ. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5628&filename=gross_regional

สุปรียา พงศ์ภูริพจน์ และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสปาเสริมความงาม เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(11). 334-347.

อุตสาหกรรมสปาและนวดแผนไทย. (2563, 27 ตุลาคม). สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์. https://www.pier.or.th/forums/2020/12/spa-and-thai-massage/

อุมาพร ศรีอุ่นลี และวัชระ ยี่สุ่นเทศ. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสปาในโรงแรมคอลัมแบงค๊อก กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 5(2). 70-81.

Kotler, P. (1997). Marketing management: Analysis, planning implementation and control. Simon & Schuster.