แนวทางความต้องการของประชาชนใน 4 ภูมิภาคต่อรายการโทรทัศน์ของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล

Main Article Content

วีรินทร์รภัฎ รักธรรม
ทรงเกียรติ จรัสสันติจิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางความต้องการรายการของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลระดับภูมิภาค 4 ภาค โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสนทนากลุ่ม (Focus Group) จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ในระบบดิจิตอลระดับภูมิภาค 4 ภาค ใน 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น อุบลราชธานี จันทบุรี กาญจนบุรี สุราษฎร์ธานี และภูเก็ต จำนวน 83 คน
ผลการวิจัยพบว่า แนวทางความต้องการรายการสรุปได้ 3 ประเด็นสำคัญ คือ 1) แนวทาง ความต้องการด้านประเภทรายการ เนื้อหา และรูปแบบการนำเสนอรายการข่าวและรายการโทรทัศน์ ได้แก่ ความเป็นท้องถิ่น ความน่าเชื่อถือของเนื้อหาและแหล่งข่าว การใช้ภาษา ผู้ประกาศข่าวและ ผู้ดำเนินรายการ เวลาในการออกอากาศ เนื้อหารายการข่าว รูปแบบการนำเสนอรายการและงบประมาณ 2) แนวทางความต้องการรายการโทรทัศน์บนแพลตฟอร์มออนไลน์ ได้แก่ การใช้ภาษา เนื้อหารายการและการนำเสนอรายการในแต่ละภูมิภาค และ 3) การพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคส่วนในสังคม ได้แก่ การให้ข้อมูลความคิดเห็น การวางแผนการผลิตและเผยแพร่รายการ ผลการวิจัย นำไปเป็นแนวทางให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการผลิตรายการของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ในการพัฒนารายการต่าง ๆ รวมถึงเป็นแนวทางในการผลิตรายการทางสื่อออนไลน์และการสร้าง การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

Article Details

How to Cite
รักธรรม ว. . ., & จรัสสันติจิต ท. . . (2023). แนวทางความต้องการของประชาชนใน 4 ภูมิภาคต่อรายการโทรทัศน์ของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล . วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 33(2), 185–200. https://doi.org/10.14456/pyuj.2023.28
บท
บทความวิจัย

References

กมลรัฐ อินทรทัศน์ และกรรพุม บุญทวี. (2558). แนวคิด ประเภท และรูปแบบการผลิตรายการโทรทัศน์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการผลิตรายการโทรทัศน์เบื้องต้น สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4, หน่วยที่ 1-7, น 1-35). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กัญญรัตน์ งามพริ้ง. (2543). กลยุทธ์การบริหารการข่าวของยูบีซี. [รายงานโครงการเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กาญจนา แก้วเทพ, กำจร หลุยยะพงษ์, รุจิรา สุภาษา, และวีระพงษ์ พงนิกรกิจ. (2543). สื่อเพื่อชุมชนการประมวลองค์ความรู้. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

จินตนา สุจจานันท์. (2549). การศึกษาและการพัฒนาชุมชน. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์การจัดทําผังรายการสําหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๖. (2556, 27 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 27 ง, หน้า 22-27,ภาคผนวก.

ปาริชาต สถาปิตานนท์ สโรบล. (2543). องค์ประกอบในการขับเคลื่อนประชาสังคม. ใน อนุชาติ พวงสำลี (บก.), ประชุมทางวิชาการประชาสังคมครั้งที่ 1 ในวันที่ 2-4 เมษายน 2542 ณ หอประชุมณัฐ ภมรประวัติ สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม (น.17-22). มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปาริชาต สถาปิตานนท์ สโรบล, ดวงพร คํานูนวัฒน์, หฤทัย ขัดนาค, ศิวพร ศรีสมัย, ดวงแข บัวประโคน,และจําเริญ ใยชิด. (2549). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน: จากแนวคิดสู่ปฏิบัติการวิจัยในสังคมไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พนม คลี่ฉายา. (2564). การออกแบบสารเพื่อการสื่อสารแบบบูรณาการ. โครงการตำราคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2561). สื่อสังคมออนไลน์ แหล่งข่าวยุคดิจิทัล. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 9(2), 1-9. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/230540

เพชรรัตน์ เวสสวัฒน์. (2549). การมีส่วนร่วมของผู้ชมรายการสารคดี "คนค้นฅน". [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/CU.the.2006.1318

ภูชิตต์ ภูริปาณิก. (2557). โครงสร้างโทรทัศน์สาธารณะ Thai PBS กับการมีส่วนร่วมของพลเมือง. วารสารวิจัย มสด, 10(1), 97-111.

มหาวิทยาลัยพายัพ สาขาวิชานิเทศศาสตร์. (2565). รายงานโครงการพัฒนาสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ระดับภูมิภาค 4 ภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. ผู้แต่ง.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ. (2564). รายงานโครงการพัฒนาสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ระดับภูมิภาค 4 ภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. ผู้แต่ง.

สรรพัชญ์ เจียระนานนท์. (2563). การพัฒนารายการสนทนาข่าวทางโทรทัศน์เพื่อการนำเสนข้อเท็จจริง เชิงลึก. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 14(2), 49-82. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dpuca/article/download/245040/165749/863830

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2565). เรตติ้งทีวีดิจิทัลข้ามแพลตฟอร์ม ประจำเดือนพฤศจิกายน (รายงานฉบับเต็ม). https://www.adteb.or.th/content/29835

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สำนักประชาสัมพันธ์. (2561). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการใช้เฟซบุ๊ก (Facebook). ผู้แต่ง. https://borc.anamai.moph.go.th/web-upload/24xe82d9421a764bd38b31a4171c44f37a6/filecenter/KPI64/F1/Level1/F1-1-15.pdf

สุภาภรณ์ สุดหนองบัว. (2565). เอกสารประกอบการอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่. https://www.graduate.cmru.ac.th/Uploads/formthesis/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2.pdf

หนึ่งหทัย ขอผลกลาง. (2560.) รายงานการวิจัย แนวทางการใช้สื่อท้องถิ่นเพื่อการสื่อสารสุขภาพในเขตตะวันออก. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยสีุรนารี. http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/7816/2/Fulltext.pdf

อุดม ไพรเกษตร และปิยากร หวังมหาพร. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านทางสื่อสังคมเฟสบุ๊คของหน่วยงานภาครัฐไทย. วารสารการเมืองการปกครอง, 7(1), 39-57.

อุษา ศิลป์เรืองวิไล. (2561) นวัตกรรมการผลิตรายการโทรทัศน์ในยุคดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย. EAU HERITAGE JOURNAL Social Science and Humanity, 9(3), 84-98.