ปัญหาความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องสำหรับสินค้าที่เป็นของแถม
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันการใช้มาตรการส่งเสริมการตลาดโดยวิธีการให้ของแถม เป็นวิธีการที่ใช้อย่างแพร่หลาย แต่มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับของแถมมีเพียงการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ การได้รับของแถม และควบคุมประเภทสินค้าที่จะเป็นของแถม แต่ไม่ได้กำหนดความรับผิดแก่ผู้ให้ของแถม เมื่อของแถม มีความชำรุดบกพร่องไว้อย่างชัดเจนและเป็นการเฉพาะ จึงทำให้ต้องพิจารณาสถานะทางสัญญา ของการให้ของแถมว่าจะสามารถนำเอาความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องมาบังคับใช้ได้หรือไม่ ทำให้เกิดความไม่แน่นอนและเป็นช่องว่างในบางกรณี ดังนั้น การนำมาตรการทางกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เข้ามาปรับใช้โดยกำหนดให้สัญญาหรือบริการใดที่มีการให้ของแถมเป็นสัญญาที่ถูกควบคุม และให้อำนาจคณะกรรมการว่าด้วยสัญญามีอำนาจในการกำหนดลักษณะและข้อตกลง ตลอดจนให้ นำความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องมาบังคับใช้ จะเป็นประโยชน์และให้การคุ้มครองผู้ได้รับของแถม ทำให้ผู้ประกอบการต้องตระหนักถึงการใช้มาตรการส่งเสริมการตลาดที่มีของแถม ต้องใส่ใจคุณภาพ ของแถมที่จะมอบต่อไป
Article Details
References
กิตติศักดิ์ ปรกติ. (2532). ผลงานวิจัยเสริมหลักสูตร เรื่องความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องในสัญญาซื้อขาย. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นนทวัชร์ นวตระกูลพิวุทธิ์. (2563). กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศักดิ์ สนองชาติ. (2545). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา (พร้อมทั้งระยะเวลาและอายุความ) และข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม (ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540) (พิมพ์ครั้งที่ 7). นิติบรรณาการ.
ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. (2563). คำอธิบายนิติกรรมสัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 23). วิญญูชน.
ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. (2564). คำอธิบายกฎหมายลักษณะซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ (พิมพ์ครั้งที่ 9). วิญญูชน.
สุษม ศุภนิตย์. (2552). คำอธิบายกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 7). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสนีย์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2559). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้ เล่ม 1 (ภาค 1-2) (พิมพ์ครั้งที่ 3). วิญญูชน.