ปัจจัยความสำเร็จในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพของนักบัญชีในยุคดิจิทัล

Main Article Content

พวงทอง วังราษฎร์
ปิยะดา เนตรสุวรรณ

บทคัดย่อ

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพลกับการดำเนินธุรกิจ ธุรกิจในสมัยใหม่จึงต้องมี การปรับตัว โดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพของนักบัญชีในยุคดิจิทัลให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพของนักบัญชีในยุคดิจิทัล โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักบัญชีในสำนักงานบัญชี จังหวัดลำปาง จำนวน 105 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเทคนิคการถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยความสำเร็จในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มศักยภาพของนักบัญชีในยุคดิจิทัล เรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ ปัจจัยด้านการพัฒนาทักษะนักบัญชี ปัจจัย ด้านการยอมรับการใช้เทคโนโลยี ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน ปัจจัยด้านจรรยาบรรณของวิชาชีพบัญชี และปัจจัยด้านความทันสมัยของเทคโนโลยี ตามลำดับ โดยเฉพาะปัจจัยด้านการพัฒนาทักษะนักบัญชีที่ส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพของนักบัญชีในยุคดิจิทัล ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพ การปฏิบัติงาน ด้านการบรรลุเป้าหมายของงาน และด้านคุณภาพของงาน ผลการศึกษานี้ย่อมเป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและองค์กร เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนานักบัญชี และนำเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีความก้าวหน้าทันสมัยมาใช้ในองค์กรให้ประสบความสำเร็จ

Article Details

How to Cite
วังราษฎร์ พ. ., & เนตรสุวรรณ ป. . (2024). ปัจจัยความสำเร็จในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพของนักบัญชีในยุคดิจิทัล. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 34(1), 1–16. https://doi.org/10.14456/pyuj.2024.1
บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒน์ฯ พลิกโฉมสำนักงานบัญชีไทยสู่ “ยุค Thailand 4.0”. (2560, 8 กรกฎาคม). https://www.voicetv.co.th/read/505780

กุลธิดา ธนสมบัติศิริ. (2564). คุณลักษณะของนักบัญชียุคใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ นักบัญชีในสำนักงานรับทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

กุสุมา ดำพิทักษ์ และธัญกานต์ คชฤทธิ์. (2563). การยอมรับระบบคลาวด์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ระบบสารสนเทศการบัญชีภาคธุรกิจ สำหรับผู้ทำบัญชี. วารสารศิลปการจัดการ, 4(1), 13-22.

คณะกรรมการมาตรฐานการศึกษาบัญชีระหว่างประเทศ. (2557). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ ฉบับที่ 3 การพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก - ทักษะทางวิชาชีพ (ฉบับปรับปรุง). ผู้แต่ง. https://www.tfac.or.th/upload/9414/eq6p8RJwV0.pdf

จันทัปปภา ปุณยวิทิตโรจน์, ศรัณยา เลิศพุทธรักษ์, และธีรวัฒน์ หังสพฤกษ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของนักบัญชี. ใน พรรณี พิมาพันธุ์ศรี (บก.), การประชุมวิชาการระดับนานาชาติและระดับชาติด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี ครั้งที่ 2 (น. 33-45). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณธัชพงศ์ พิสิษนุพงศ์. (2561). สภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีความสัมพันธ์ต่อการสร้างความผูกพันองค์กรของข้าราชการและบุคลากร สำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง, 1(1), 64-78.

ณัชริกาญจน์ เธียรวรนันท์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีกรณีศึกษา ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ธัญญารัตน์ ทาประดิษฐ์ และสุภา ทองคง. (2565). อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กรด้านบัญชีและสภาพแวดล้อมภายในองค์กรที่มีผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 13(1), 137-152.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยเพละวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 11). บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นันทวรรณ บุญช่วย. (2563). ยุคพลิกผันทางเทคโนโลยีกับการพัฒนานักบัญชีนวัตกร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 3(1), 15-26.

ประสัณห์ เชื้อพานิช. (2560). บทบาทนักบัญชีในยุค Digital transformation. จดหมายข่าวสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์, 72(2), 18.

พลพธู ปียวรรณ และกัญนิภัทธิ์ นิธิโรจน์ธนัท. (2562). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี (พิมพ์ครั้งที่ 11). วิทยพัฒน์.

พิชัย ชุณหวชิร. (2561). ก้าวสู่นักบัญชี แห่งโลกอนาคต. จดหมายข่าวสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์, 71(1), 19.

พิมพาภรณ์ พึ่งบุญพานิชย์ และนภา นาคแย้ม. (2565). ผลกระทบของการบัญชีดิจิทัลที่มีต่อคุณภาพของรายงานการเงิน. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 16(1), 26-43.

เพ็ญนภา เกื้อเกตุ, ภูริชาติ พรหมเต็ม, และวิโรจน์ ไพบูลย์เวชสวัสดิ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นมืออาชีพของนักบัญชียุคดิจิทัลและประสิทธิภาพการดำเนินงานของกิจการห้างหุ้นส่วนจำกัดในจังหวัดยะลา. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(1), 153-166. รายชื่อสํานักงานบัญชีในแต่ละจังหวัด. (ม.ป.ป.). https://www.dbd.go.th/manual/1367

วสันต์ ครองมี, ปุณยวีร์ ยังดี, และพุฒิสรรค์ เกตุมรรค. (2563). ผลกระทบของทักษะนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีผลต่อความสำเร็จในการทำงานของผู้ทำบัญชีในสำนักงานบริการด้านบัญชี จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2(1), 67-86.

วิรไท สันติประภพ. (2560). Thailand 4.0. https://computer.srru.ac.th/2560/Thailand4.0.pdf

สรัชนุช บุญวุฒิ และไพฑูรย์ อินต๊ะขัน (2559) การศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะของนักบัญชียุคใหม่ ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(1), 167-177.

สำนักงานคลังจังหวัดลำปาง. (2565). รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดลำปาง ปี 2565 ฉบับที่ 1. ผู้แต่ง. https://online.anyflip.com/oyegz/kdee/mobile

สุทธิชัย ขันทอง และขจิต ณ กาฬสินธุ์. (2564). ผลกระทบของวิสัยทัศน์องค์กร สมรรถนะทางการบัญชีเทคโนโลยีทางการบัญชี และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานที่มีต่อการประยุกต์ใช้การบัญชีดิจิทัล ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 14(1), 43-54.

อนงค์วรรณ อุประดิษฐ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสำนักงานบัญชีในการจัดทำบัญชีของธุรกิจในจังหวัดลำปาง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(11), 314-328.

อัจฉรา เด่นเจริญโสภน. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Best, J. W. (1977). Research in education (3rd ed.). Prentice Hall.

Cortina, J. M. (1993). What is coefficient alpha: An examination of theory and applications?. Journal of Applied Psychology, 78(1), 98-104.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Fernandez, D., & Aman, A. (2018). Impacts of robotic process automation on global accounting services. Asian Journal of Accounting and Governance, 9(1), 127-140.

Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory (3rd ed.). McGraw-Hill.

Nwakanma, C. I., Asiegbu, B. C., Ogbonna, C. A., & Njoku, P. P. C. (2013). Factors affecting successful implementation of information technology projects: Experts’ perception. European Scientific Journal, 9(27), 128-137.

Stevens, J. (1992). Applied multivariate statistics for the social science (2nd ed.). Harper & Row.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). Harper & Row.