คุณภาพชีวิตในการทำงานของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน: มิติด้านกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย

Main Article Content

นวกาล สิรารุจานนท์
เทียน เลรามัญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการคุ้มครองการทำงาน และผลประโยชน์ตอบแทนของผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์ที่ปฏิบัติหน้าที่งานสอนเต็มเวลา ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย จำนวน 275 ราย โดยนำผลมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและทดสอบสมมติฐานหาความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองการทำงาน และผลประโยชน์ตอบแทนของผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนกับคุณภาพชีวิตในการทำงาน ของอาจารย์ ผลการวิจัยพบว่า กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองการทำงานและผลประโยชน์ตอบแทน ของผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไม่ส่งผลต่อระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของอาจารย์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 0.01 อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่งผล ต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของอาจารย์อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าสถาบันการศึกษาควรพิจารณาเรื่องการกำหนดภาระงาน ภาระการสอน และประโยชน์ตอบแทน ตามสาระสำคัญของกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานและผลประโยชน์ตอบแทนของผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2549 เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนมีเครื่องมือในการดูแลสวัสดิภาพของอาจารย์ได้อย่างเหมาะสม

Article Details

How to Cite
สิรารุจานนท์ น. ., & เลรามัญ เ. . (2024). คุณภาพชีวิตในการทำงานของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน: มิติด้านกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 34(1), 34–52. https://doi.org/10.14456/pyuj.2024.3
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ชวดสุวรรณ์. (2556). รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสถาบันคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. มหาวิทยาลัยรามคำแหง

กังสดาล เชาว์วัฒนกุล, ยุทธนา ไชยจูกุลม และจารุวรรณ สกุลคู. (2558). ความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้บริหารในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 41(1), 70-87. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/131386/98585

นาวี อุดร, วัลนิกา ฉลากบาง, วาโร เพ็งสวัสดิ์, และพรเทพ เสถียรนพเก้า. (2561). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 12(1), 213-222. https://so03.tcithaijo.org/index.php/reru/article/view/164926/119497

พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี. (2550). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองการทำงานและผลประโยชน์ตอบแทนของผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน . [วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Research Gateway. http://researchgateway.in.th/search/result_search/4c035edad3c6971a575e52c124a59801ae8c608fbcab3b29b2759f06e43e3b1f

มาลินี คำเครือ. (2554). คุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยในกรุงเทพ. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2550). การสร้างเครื่องมือวิจัย. ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

ระพีพรรณ พิริยะกุล. (2539) การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิทยา นพมาศ. (2553). ปัญหาทางกฎหมายของสัญญาจ้างบุคลากรทางการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน. วารสารกระบวนการยุติธรรม. 3(3), 75-91.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, เฉลิมพล แจ่มจันทร์, กาญจนา ตั้งชลทิพย์ และจรัมพร โห้ลำยอง. (2556). รายงานสถานการณ์ความสุขของคนทำงานในประเทศไทย ปีที่ 1 รอบครึ่งปีแรก โครงการจับตาสถานการณ์ความสุขของคนทำงานในประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2554 - 2557. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สรวงสวรรค์ ต๊ะปินตา. (2541). คุณภาพชีวิตการทำงานของช่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. (2565). รายงานประจำปีสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. สมาคมฯ.

Huse, E. F., & Cummings, T. G. (1985). Organizational development and change. West.

Krejcie, R. V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308

Renato, B. F., Bruna, S. M., Ronaldo, P. C., & Luiz, M. A. (2016). Quality of work life: An evaluation of Walton model with analysis of structural equations. Espacios. 38(3), 5-26. https://www.revistaespacios.com/a17v38n03/a17v38n03p05.pdf

Walton, R. E. (1974). Quality of work life: What is it?. Sloan Management Review, 15(1), 11-21. https://www.proquest.com/docview/1302985117?sourcetype=Scholarly%20Journals

Wang, J., & Wang, X. (2012). Structural equation modeling with mplus: Applications using mplus. Wiley.