พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนในชุมชนกึ่งเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

สิริทรัพย์ สีหะวงษ์
ปิยณัฐ สร้อยคำ
บุญทิวา พ่วงกลัด
ศิริพร จันทนสกุลวงศ์

บทคัดย่อ

การดื่มแอลกอฮอล์ก่อให้เกิดโรค การบาดเจ็บและการเสียชีวิต และยังส่งผลกระทบ ต่อครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคม งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนที่อาศัยในชุมชนกึ่งเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่ในการวิจัยครั้งนี้คือ ตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 207 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ภายในชุมชนที่มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค (Cronbrach’s Alpha Coeffcient) 0.74 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติหาค่าจำนวน ความถี่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test)
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชนกึ่งเมือง คิดเป็นร้อยละ 71.98 ซึ่งสูงกว่าภาพรวมของประเทศ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นเพศชาย ร้อยละ 49.76 เพศหญิง ร้อยละ 17.39 โดยเพศมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
สีหะวงษ์ ส. ., สร้อยคำ ป. ., พ่วงกลัด บ. ., & จันทนสกุลวงศ์ ศ. . (2024). พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนในชุมชนกึ่งเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 34(1), 70–83. https://doi.org/10.14456/pyuj.2024.5
บท
บทความวิจัย

References

กิตติ เหลาสุภาพ, ทักษิณ พิมพ์ภักดิ์, และปวีณา ลิมปิทีปราการ. (2562). ผลกระทบของการดื่มแอลกอฮอล์ต่อตนเองครอบครัวและสังคมของผู้นำชุมชนในเขตอีสานใต้. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2(1), 44-52.

กฤตพิพัฒน์ พงศ์เสวี และมานิดา มณีอินทร์. (2567). พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาไทยระดับปริญญาตรี:การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ปี พ.ศ. 2561-2565. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย, 6(1), 83-89.

นิิตยา พัันธุุเวทย์์, ชนิิดดา ตรีีวุุฒิิ และเบญชญาพััชช์์ อนัันท์์ธณานิินท์์ (บ.ก.). (2565). คู่มือชุดเครื่องมือในการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ ภายใต้การอบรมหลักสูตรการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อสำหรับผู้นำท้องถิ่น รุ่นที่ 1. กองโรคไม่่ติิดต่่อ กรมควบคุุมโรค กระทรวงสาธารณสุุข.

กรมควบคุมโรค ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมการขนส่งทางบก เดินหน้าโครงการ “ขับขี่ปลอดภัย มั่นใจ ไร้แอลกอฮอล์” หวังลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่. (2562, 19 ธันวาคม). กรมควบคุมโรค. https://ddc.moph.go.th/dcd/news.php?news=10553&deptcode=dcd

ทิฆัมพร อ่อนลออ และนรลักขณ์ เอื้อกิจ. (2559). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรเพศชายวัยผู้ใหญ่ กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 28(2), 137-150.

ธนิษฐา สมัย, ยุพา จิ๋วพัฒนกุล, และสมจินต์ เพชรพันธุ์ศรี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลภาวะเศรษฐกิจและสังคม ความเครียด ต่อพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนในชุมชน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. Journal of Nursing Science, 33(1), 42-50.

ประภาส ธนะ, จิราภา บุญศิลป์, นงคาร รางแดง, นิริธร ยิ่งเรงเริง และจันทิมา เขียวแก้ว. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของทหารกองประจำการ จังหวัดสระบุรี. Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 27, 226-238.

ผดุงศิษฏ์ ชํานาญบริรักษ์. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนในชุมชนตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16(2), 711- 722.

มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.). (2563). รายงานสถานการณ์การบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2562. สินทวีกิจ พริ้นติ้ง.

ระบบสารสนเทศสนับสนุนงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. (2563). ปิรามิดประชากรตำบลคำขวาง ปี 2563. https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/populationpyramid/tambon?year=2020

รินทราย อรุณรัตนพงศ์ และชวนันท์ ชาญศิลป์. (2560). ความชุกและปัจจัยเกี่ยวข้องกับการตระหนักรู้ถึงภาวะซึมเศร้าในผู้ติดสุราโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 62(1), 27-34.

สุจิตตา ฤทธิ์มนตรี, โสภิดา ดาวสดใส, ขวัญสุดา บุญทศ, และนภาพร ปรีกุล. (2564). พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชนแห่งหนึ่งของจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการพัฒนาสุขภาพขุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(2), 139-153.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ. 2560. ผู้แต่ง.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). การสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ. 2564. ผู้แต่ง.

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุบลราชธานี. (2564). รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดอุบลราชธานี. ผู้แต่ง. https://www.m-society.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web/ download/article/article_20211110144546.pdf

Alcohol. (2022, May 9). World Health Organization. https://www.who.int/news-room/fact sheets/detail/alcohol

Alcohol. (n.d.). World Health Organization. https://www.who.int/health-topics/alcohol#tab=tab_1

Junaid, K., & Subhojit, S. (2023). Socio-economic context of alcohol consumption and the associated risky behavior among male teenagers and young adults in India. JOURNAL OF SUBSTANCE USE, 28(1), 66–73.

Lemeshow, S., Hosmer, D. W., Jr., Klar, J., & Lwanga, SK. (1990). Adequacy of sample size in health studies.https://www.academia.edu/39511442/Adequacy of_ Sample_Size_in_Health_Studies