ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการใช้บริการซ้ำของผู้รับบริการ เวชศาสตร์ความงามประเภทไม่ศัลยกรรม ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการใช้บริการซ้ำของผู้รับบริการเวชศาสตร์ความงามประเภทไม่ศัลยกรรม ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัย เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เข้ารับบริการคลินิกเสริมความงามประเภทไม่ศัลยกรรมมากกว่า 2 ครั้ง ภายในระยะเวลา 1 ปี และกลับมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง จำนวน 400 คน การสุ่มตัวอย่างเป็นแบบ ไม่อาศัยความน่าจะเป็นโดยใช้เทคนิคแบบตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อปัจจัยทางการตลาดโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด และระดับมาก ดังนี้ 1) บุคลากร 2) ผลิตภัณฑ์ 3) ประสิทธิภาพและคุณภาพ 4) ราคา 5) กายภาพ 6) ส่งเสริมการตลาด 7) กระบวนการ และ 8) สถานที่ นอกจากนี้ ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อความตั้งใจในการใช้บริการซ้ำโดยภาพรวมแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก จากสมการพยากรณ์ พบว่า 1) ปัจจัยทางการตลาดด้านกายภาพ ด้านประสิทธิภาพและคุณภาพ ด้านส่งเสริมทางการตลาด และด้านบุคลากรมีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการใช้บริการซ้ำด้านความพึงพอใจมีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.495 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ปัจจัยทางการตลาดด้านประสิทธิภาพและคุณภาพ ด้านราคาและด้านบุคลากร มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการ ใช้บริการซ้ำด้านความไว้วางใจ มีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ 0.599 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ปัจจัยทางการตลาดด้านส่งเสริมทางการตลาดและด้านบุคลากรมีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการใช้บริการซ้ำด้านความจงรักภักดีต่อตราสินค้า มีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.507 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
กฤติยา แสงเปี่ยง และสลิตตา สิบุตร. (2566). ปัจจัยทางการตลาดและคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Shopee และ Lazada ของผู้บริโภคใน เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารดิจิทัล ธุรกิจ และสังคมศาสตร์, 9(2), 1-15. https://rsujournals.rsu.ac.th/index.php/jdbs/article/download/3323/2468/
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชเนศ ลักษณ์พันธุ์ภักดี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Thammasat University Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:126470
ทิพย์สุดา ศรีปราชญ์วิทยา. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจ และความจงรักภักดีของลูกค้าบริษัทประกันภัยรถยนต์ในจังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยศรีปทุม]. Knowledge Bank at Sripatum University. http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6058
เทรนด์เสริมความงามมาแรง ปี’70 มูลค่าตลาดโลก 7 ล้านล้าน. (2566, 1 มกราคม). ประชาชาติธุรกิจ. https://www.prachachat.net/d-life/news-1162177.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น: ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุวีริยาสาส์น.
บุญช่วย ค้ายาดี. (2566, 29 สิงหาคม). ธุรกิจศัลยกรรมไทยบูมแต่แข่งดุ. ไทยโพสต์. http://www.thaipost.net/columnist-people/438788
รัชชานนท์ ชัยเจริญ. (2565). อิทธิพลของความปลอดภัยในการซื้อสินค้าออนไลน์และคุณภาพของสินค้าที่มีต่อความไว้วางใจและความจงรักภักดีของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. DSpace at Silpakorn University. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/4207/1/621220080.pdf
ศุลีพร รุ่งสาคร. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการใช้บริการร้านค้าปลีก แบบดั้งเดิม (ร้านโชห่วย) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Thammasat University Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:96821
สุจิตรา อันโน. (2565, 23 ธันวาคม). ผู้หญิงอย่าหยุดสวย ดันตลาดเสริมความงามปังไม่หยุด อานิสงส์เปิดประเทศ. สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย. https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?ref=A&id=aVV2ZFphQ3VxaWc9
อณิษฐา ผลประเสริฐ. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงามด้านผิวพรรณของผู้บริโภค. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Thammasat University Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:94387
อัครเดช ปิ่นสุข. (2557). การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประสมการตลาดในมุมมองของลูกค้าที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ (E-satisfaction) ในการจองตั๋วภาพยนตร์ออนไลน์ผ่านระบบแอพพลิเคชั่น ของผู้ใช้บริการในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. BU Research. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1723
Aaker, D. A. (1991). Managing Brand Equity: Capitalizing on the value of a brand name. The Free Press.
Anderson, C. (2006). The long tail: Why the future of business is selling less of more. Hyperion.
Black, K. (2006). Business statistics for contemporary decision marking. (4th ed.). John Wiley & Sons.
Hellier, P. K., Geursen, G. M., Carr, R. A. & Rickard, J. A. (2003). Customer repurchase intention: A general structural equation model. European Journal of Marketing, 37(11), 1762-1800.
Kotler, P. (2003). Marketing Management (11th European ed.). Prentice Hall.
Kotler, P. & Keller, K. (2016). Marketing management (15th ed.). Pearson.
Likert, R. (1967). The Method of constructing and attitude scale. Wiley & Son.
Lovelock, C. & Wirtz, J. (2007). Service marketing, people, technology, strategy (6th ed.). Pearson.
Marketeer Team. (2565, 23 ธันวาคม). ตลาดเสริมความงามไทย. Marketeer. https://marketeeronline.co/archives/292227
Oliver, L. R. (1980). A cognitive model of antecedents and consequences of satisfaction decisions. Journal of Marketing Research, 17(4), 460-469.
Oliver, R. (1988). SERVQUAL: A multiple item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 6(1),12-40.
Prasetyo, K. A. (2018). The Influence of trust, security and service quality toward purchase decision at Lazada. Journal of Research in Management, 1(2),18-22.