ข้อกฎหมายและความรับผิดชอบต่อสังคมที่นักรีวิวควรรู้

Main Article Content

เอกกมล เอกลักษณ์ดิลก
จิรภัทร กิตติวรากูล

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันการรีวิวเป็นรูปแบบการสื่อสารที่นิยมแพร่หลาย เมื่อผู้คนมีสื่อออนไลน์อยู่ในมือ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดก็ถูกนำมารีวิวได้ตามความต้องการของผู้คนที่อยากแบ่งปันประสบการณ์ และแสดงความคิดเห็นผ่านโซเชียลมีเดียของตน รวมทั้งยังถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาด และการโฆษณาที่มีบทบาทและอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม การรีวิวก็มี ขอบเขตที่ไม่สามารถทำได้ตามใจชอบ บทความนี้จึงแนะนำ “ข้อกฎหมาย” ที่นักรีวิวไทยควรรู้ คือ (1) ประมวลกฎหมายอาญา (2) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีสาระสำคัญเรื่อง การแสดงความคิดเห็นที่อาจกลายเป็นการหมิ่นประมาทหรือการละเมิด (3) พระราชบัญญัติอาหาร (4) พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง (5) ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องหลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร ซึ่งมีสาระสำคัญเรื่องข้อกำหนดการพรรณาสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่าย ผิดกฎหมาย และข้อกำหนดเรื่องการขออนุญาต และ (6) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีสาระสำคัญเรื่องการเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือน ข้อมูลปลอม หรือข้อมูลอันเป็นเท็จ ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ หากนักรีวิวละเมิดกฎหมายดังกล่าว ก็จะมีความผิดต้องได้รับโทษปรับ หรือโทษจำคุก
ในส่วนของ “ความรับผิดชอบต่อสังคม” บทความนี้ได้แนะนำนักรีวิว ดังนี้ (1) กรณีที่ต้องนำข้อมูลมาจากโซเชียลมีเดียมาใช้ ต้องกลั่นกรองให้รอบด้าน (2) ข้อควรระวังในการเสนอเนื้อหาที่เชิญชวนให้หลงงมงาย และ (3) การตระหนักถึงบทบาทในการสร้างค่านิยมให้แก่เยาวชน ได้แก่ ค่านิยม การเรียกร้องความสนใจในทางที่ไม่ถูก ค่านิยมเกี่ยวกับการใช้ภาษา ค่านิยมการลอกเลียนแบบ และตามกระแสที่ผิด และค่านิยมความรักชาติ

Article Details

How to Cite
เอกลักษณ์ดิลก เ. ., & กิตติวรากูล จ. . (2024). ข้อกฎหมายและความรับผิดชอบต่อสังคมที่นักรีวิวควรรู้. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 34(1), 198–216. https://doi.org/10.14456/pyuj.2024.13
บท
บทความวิชาการ

References

‘กาละแมร์’ดอดพบ‘ปคบ.’เพิ่มข้อหาผิด พ.ร.บ.คอมพ์. (2564, 10 กุมภาพันธ์). ผู้จัดการออนไลน์. https://mgronline.com/daily/detail/9640000013248

ชนิดา ฉันทวนิชย์. (2558). การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เคลือบเล็บชนิดลอกออก. [การค้นคว้าอิสระสาขาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง]. สำนักงานบัณฑิตศึกษา. http://newpostgrad.mfu.ac.th/k2/item/287-2-2558

ชยานิษฐ์ ผ่องใส. (2566, 3 มีนาคม). ชัวร์ก่อนแชร์ : CDS คลอรีนไดออกไซด์ รักษาโควิด จริงหรือ?. สำนักข่าวไทย (ชัวร์ก่อนแชร์). https://tna.mcot.net/sureandshare-1124845

ไซร่า มิเรอร์ เน็ตไอดอลดังรับทราบข้อหารีวิวเมจิกสกิน โทษหนักส่งฟ้องศาลทันที. (2562, 16 มิถุนายน). ข่าวสดออนไลน์. https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_2609724

ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน. (2556). รายงานผลการวิจัย เรื่อง บทบาทของสื่อใหม่ในการสร้างค่านิยมทางสังคมและอัตลักษณ์ของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. https://libdoc.dpu.ac.th/research/149786.pdf

ฐิติพล ปัญญาลิมปนันท์ และวสวัตติ์ ลุขะรัง. (2561, 15 กันยายน). zbing z. ทำความรู้จักเกมแคสเตอร์ที่มีผู้ติดตามกว่า 6 ล้านคน. BBC News ไทย. https://www.bbc.com/thai/thailand-45518619

ณัชชา พัฒนะนุกิจ. (2561). สื่อมวลชนกับจริยธรรมและจรรยาบรรณในยุคโซเชียลมีเดีย (Social Media). สภาการสื่อสารมวลชนแห่งชาติ. https://www.presscouncil.or.th/wp-content/uploads/2018/12/611130%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A5-%E0%B8%94%E0%B8%A3.-%E0%B8%93%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%8A%E0%B8%B2.pdf

ณัฐนิช เจียมศิริกาญจน์. (2561). คุณสมบัติของ Influencer ที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของคนกลุ่ม Millennials ต่อผลิตภัณฑ์ความงาม. [การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. BU Research. http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/4081/1/nuttanit.jiam.pdf

ทวีป ศรีน่วม. (2567). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับปรับปรุงล่าสุด พ.ศ. 2567. สถาบันนิติธรรมาลัย. https://www.drthawip.com/civilandcommercialcode/index

นักพากย์เกม โพสต์ตำหนิ “มาลี สวยมาก” ทำคอนเทนต์รุนแรงหวั่นเด็กแยกไม่ออก ควรหรือไม่ควรทำ. (2562, 22 ตุลาคม). ผู้จัดการออนไลน์. https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000101462

นัยรัตน์ ธนไวทย์โกเศส. (2567, 11 เมษายน). Zbing z [YouTube Channel]. YouTube. https://www.youtube.com/user/zbingzbing

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องหลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร พ.ศ. 2564. (2564, 30 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนพิเศษ 37 ง. หน้า 14-21. https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17161719.pdf

เปิดรายได้ YouTuber ไทยชื่อดัง อัปเดตปี 2024. (2567, 18 มกราคม). ANGA. https://anga.co.th/marketing/how-much-do-youtubers-make/#:~:text

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522. (2522, 4 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 96 ตอนที่ 32. หน้า 20-47. https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1421189.pdf

พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558. (2558, 8 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนที่ 86 ก. หน้า 4-25. https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/2051678.pdf

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560. (2560, 24 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 10 ก. หน้า 24-35 https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/2097456.pdf

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522. (2522, 13 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 96 ตอนที่ 39. หน้า 1-28. https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1421219.pdf

พลอย ชิดจันทร์ โพสต์ขอโทษแล้ว ปมรีวิวปัญหาบ้าน แต่โครงการบ้านหรูฟ้องกลับ 50 ล้าน. (2565, 22 มีนาคม). AmarinTV. https://www.amarintv.com/news/detail/126940

ภาณุพงษ์ ทินกร. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจรรยาบรรณสื่อโทรทัศน์ยุคดิจิทัลและแนวทางกำกับดูแล. [การค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. DSpace Bangkok University. http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/3129/3/panupong_tinn.pdf

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. https://dictionary.orst.go.th/index.php

รัฐธณา ปลิวศรีแก้ว. (2564). การพัฒนาคุณลักษณะการเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดในสื่อสังคมออนไลน์ (Influencer) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. [ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. DSpace Srinakharinwirot University. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1724/1/gs631130148.pdf

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 1-90. https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF

ลูกแคลนมาลีคลั่ง! เล่นเกมแพ้ พังคอม อีโต้ไล่ฆ่า อาม่า-แม่ผวา. (2562, 21 ตุลาคม). Springnews Online. https://www.springnews.co.th/news/561160

วิมลรัตน์ ศรีสุวัจฉรีย์. (2557). The comparative influences of customer-reviews and sponsored-reviews on consumer purchasing decision: A study of cosmetic products in Thailand. [การค้นคว้าอิสระการตลาดมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. คลังสารสนเทศดิจิทัล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2014/TU_2014_5602040940_1568_557.pdf

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค). (2552). พจนานุกรมสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไทย อังกฤษ LEXiTRON. https://lexitron.nectec.or.th/2009_1/

สภาองค์กรของผู้บริโภค. (2564, 3 สิงหาคม). สิทธิผู้บริโภคสากลสากล 8 ประการ. https://www.tcc.or.th/tcc_media/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A5-8-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0/

สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพโฆณา. https://www.adassothai.com/index.php/main/about/ethic

สราวุธ เบญจกุล. (2564). ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับสมบูรณ์). ม.ป.ท. https://library.coj.go.th/pdf-view.html?fid=14551&table=files_biblio

สุภา ศิริมานนท์. (2536). นักหนังสือพิมพ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ที.พี.พริ้น.

สุรินรัตน์ แก้วทอง. (2565, 20 เมษายน). กฎหมายควบคุมการรีวิวสินค้าที่เป็นธรรมและสุจริต. กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews.com/columnist/1000029#google_vignette

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2557). คู่มือจริยธรรมและการกำกับดูแลกันเองในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์. NBTC. https://www.nbtc.go.th/Services/academe/%E0%B8%94%E0%B9

%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80.aspx

อย.สั่งระงับโฆษณา "กาละแมร์" รีวิวอาหารเสริม ชี้โอ้อวดเกินจริง. (2564, 18 มกราคม). องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส). https://www.thaipbs.or.th/news/content/300417

อัพเดท!!! เหตุจากประเด็นอ่อนไหว ล่าสุด ‘จางเจ๋อฮั่น’ โดนทางการจีนประกาศลงดาบแล้วผู้จัดการ. (2564, 16 สิงหาคม). ผู้จัดการออนไลน์. https://mgronline.com/china/detail/9640000080690

ปี อย. ฟันดารา-นักร้อง รีวิวอาหารผิด กม. กว่า 230 คน ย้ำโฆษณาสรรพคุณต้องขออนุญาต. (2564, 31 มกราคม). มติชนออนไลน์. https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2555749