การจัดการห่วงโซ่อุปทานของมังคุดในอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

Main Article Content

ชรินทร ศรีวิฑูรย์
ภัทร์ธนกัลย์ เตี่ยไพบูลย์
ภาวิดา รังษี

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาโครงสร้างความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานมั้งคุดในอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ตั้งแต่เกษตรกรจนถึงผู้บริโภคปลายทาง 2) ศึกษาศักยภาพการดำเนินงานในห่วงโซ่อุปทานมังคุดในอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิธีปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological Research) เพื่อศึกษาปรากฎการณ์ระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานของมังคุด ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ควบคู่กับการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participant Observation) กับเกษตรกรผู้ปลูกมังคุด และกลุ่มผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานมังคุด
ผลการศึกษาพบว่า ห่วงโซ่อุปทานของผู้ผลิตมังคุดแบบเดี่ยว พ่อค้าคนกลาง/พ่อค้าท้องถิ่น ในพื้นที่ติดต่อขอรับซื้อผลผลิตมังคุดในสวนของเกษตรกร เพื่อนำไปคัดแยกเกรดและนำไปส่งจำหน่าย ในตลาดค้าส่งผลไม้ และตลาดจำหน่ายผลไม้ในประเทศ ห่วงโซ่อุปทานของผู้ผลิตมังคุดแบบกลุ่ม ที่มีการรวมกลุ่มแบบวิสาหกิจชุมชน ผลิตแบบมีการวางแผนการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตออกสู่ตลาดส่งออกตามปริมาณความต้องการของบริษัทส่งออก นอกจากนี้ ผลการศึกษาศักยภาพการดำเนินงานด้านการผลิตพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ทำการเพาะปลูกในพื้นที่ดอน มีสภาพเป็นดินร่วน พันธุ์ที่ใช้ในการปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมือง ส่วนใหญ่จะปลูกพืชชนิดอื่นร่วมกับมังคุด ใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ในการบำรุงรักษา ส่วนใหญ่จะมีการใส่ปุ๋ย 2 เดือนต่อครั้ง การกำจัดวัชพืชโดยใช้จอบถาก ใช้เครื่อง ตัดหญ้าตัด และฉีดพ่นโดยใช้สารกำจัดวัชพืช ด้านการเก็บเกี่ยวพบว่า เก็บเกี่ยวปีละครั้ง ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม จะจ้างแรงงานเก็บเกี่ยว โดยทำการคัดกรองแยกขนาด ตกแต่ง ทำความสะอาดวันต่อวัน และนำไปขายทันที สำหรับด้านการจัดจำหน่ายส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรแบบเดี่ยว จำหน่ายมังคุด ณ แหล่งผลิต โดยมีพ่อค้าท้องถิ่นมารับซื้อ ราคาตั้งแต่ 20 - 50 บาท มีปริมาณรับซื้อตั้งแต่ 2 - 4 ตัน ต่อวัน ราคาผลผลิตที่ส่งจำหน่ายต่อภายในประเทศมีราคาเฉลี่ย 20 บาท และปริมาณผลผลิตที่จำหน่ายภายในประเทศ 2 - 3 ตันต่อวัน มีการคัดเกรดราคารับซื้อ และมีการจัดจำหน่ายมังคุดผ่านช่องทางออนไลน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. (2566). การจัดการมังคุดเพื่อการส่งออก. https://www.doa.go.th/plprotect/wp-content/uploads/Km/mangosteen.pdf

จุฑามาศ นิหะ. (2561). ผลิตภาพการผลิตมังคุดของเกษตรกรในอำเภอรามัน จังหวัดยะลา. [สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ชิติพัทธ์ จินาบุญ. (2556). การจัดการโซ่อุปทานมังคุดเพื่อการส่งออก: บทบาทขององค์กรทางสังคมและโซ่อุปทานสมัยใหม่. MFU Connexion Journal of Humanities and Social Sciences. 2(2), 99 - 122.

นฤพนธ์ สุโพธิวรรณ, จินดา ขลิบทอง และเฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ. (2561). ความต้องการการส่งเสริมการผลิตมังคุดคุณภาพของเกษตรกรผู้ปลูกมังคุดในตำบลพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี. ใน สุภาภรณ์ ศรีดี (บ.ก.), การประชุมเสนอผลงานระดับชาติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 8 (น. 2075 - 2089). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. https://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/Masters/%E0%B8%9D%E0%B8%AA%E0%B8%AA/research/8nd/FullPaper/ST/Poster/P-ST%20025%20%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A4%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%20%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93.pdf

ปลื้มใจ ไพจิตร และชาญวิทย์ ทองโชติ. (2560). กระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแปรรูปและผลิตอาหาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. Journal of Management Sciences Suratthani Rajabhat University, 4(2), 175 - 204.

เผ่าพงศ์ รัตนภิรมย์. (2558). การผลิตและการจำหน่ายมังคุดของเกษตรกรในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช. [สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์]. ฐานข้อมูลสารนิพนธ์ ปริญญาโท คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. https://www.economics.psu.ac.th/econapp/ MABThesis/FileUpload/5611221005_ผลิตภาพการผลิตมังคุดของเกษตรกรในอำเภอรามัน%20จังหวัดยะลา.pdf

พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล. (2550). โลจิสติกส์ มีความสำคัญต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ศศินภา บุญพิทักษ์, กรณ์ปภพ รัตนวิจิตร, และสำราญ ชำโสม. (2559). การศึกษาและหาแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานผลไม้มังคุดในเขตจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยี อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(1), 100 - 115.

สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร. (2564). คู่มือมังคุด จังหวัดชุมพร. กรมส่งเสริมการเกษตร.

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชุมพร กลุ่มสารสนเทศการเกษตร. (2566). ข้อมูลการกระจาย ผลผลิตไม้ผลเศรษฐกิจภาคใต้ รายเดือน ปี 2566. https://www.opsmoac.go.th/chumphon-dwl-files-461891791022

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2556). มาตรฐานสินค้าเกษตร: มังคุด. ผู้แต่ง https://www.acfs.go.th/standard/download/MANGOSTEEN_new.pdf

Bowersox, D., Closs, D., & Cooper, M.B. (2012). Supply chain logistics management (4th ed.). McGraw-Hill.

Chopra, S., & Meindl, P. (2010). Supply chain management: Strategy, planning and pperation. Prentice Hall.

Kotler, P. (2004). Marketing management. Prentice-Hall.

Lambert, D. M., & Cooper, M. C. (2000). Issues in supply chain management. Industrial marketing management, 29(1), 65 - 83.

Simchi-Levi, D., Kaminsky, P., & Simchi-Levi, E. (2003). Designing and managing the supply chain: concepts, strategies and case studies. McGraw-Hill/Irwin.

Vogt, J. J., Pienaar, W. J., De Wit, P. W. C., Linford, P., & Villiers, G. D. (2002). Business logistics management: Theory and practice. Oxford University Press.

Yamane, T. (1973). Statistic: An introductory analysis (3rd ed.). Harper and Row.