การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมด้านสุขภาพชุมชนภายใต้ชีวิตวิถีใหม่: ชุมชนบ้านโป่งสมิ ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กลไกที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วม ในด้านสุขภาพของชุมชนในชุมชนบ้านโป่งสมิภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ 2) เพื่อนำชุดความรู้ที่ได้มาพัฒนา เป็นกระบวนการต้นแบบในการพัฒนาสุขภาพชุมชนบ้านโป่งสมิอย่างมีส่วนร่วมที่สามารถนำมาใช้ ได้อย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ในเชิงปริมาณ ได้แก่ การสำรวจโดยใช้แบบสอบถามประชากร จำนวน 95 ครัวเรือน และในเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่มย่อย
ผลการวิจัยพบว่า กลไกที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านสุขภาพของชุมชน คือ บทบาทของผู้นำชุมชน ทั้งในการปฏิบัติและชี้นำแนวคิดของชุมชน เพราะชาวบ้านในชุมชนมองว่า ผู้นำชุมชน คือ คนกำหนดทิศทางการพัฒนา เพราะฉะนั้นกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมใด ๆ ก็ตาม ต้องเริ่มที่บทบาทการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนก่อนเสมอ กลไกต่อมา คือ ประเด็นที่สอดคล้องกับความต้องการของชาวบ้าน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องเศรษฐกิจ ถึงแม้จะเป็นการพัฒนาด้านสุขภาพก็ตาม แต่ชาวบ้านจะต้องรับรู้ถึงความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพกับเศรษฐกิจด้วย สำหรับกระบวนการต้นแบบในการพัฒนาสุขภาพชุมชนบ้านโป่งสมิอย่างมีส่วนร่วม ชาวบ้านมีระดับการมีส่วนร่วมถึงการร่วมตัดสินใจ ร่วมติดตามตรวจสอบ และกระบวนการต้นแบบในการพัฒนาสุขภาพชุมชนบ้านโป่งสมิอย่างมีส่วนร่วมที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างยั่งยืน 7 กระบวนการ คือ 1) การสร้างความร่วมมือกับผู้นำชุมชน 2) การประเมิน ความต้องการ 3) การพัฒนากิจกรรมที่บูรณาการ 4) การสื่อสารและภาษา 5) การจัดเวิร์กช็อปชุมชน 6) โครงการหรือกิจกรรมนำร่อง และ 7) กลไกการรับฟังความคิดเห็น
Article Details
References
ไกรศร สุขุนา. (2567). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วมในชุมชนเขตตำบลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 4(1). 91-103. https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/955
ชูสิทธิ์ ชูชาติ. 2561. แผนพัฒนาท้องถิ่นโป่งสมิ (พ.ศ. 2561-2564). ศูนย์ศึกษาศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. http://www.philosophy.cmru.ac.th/main/assets/files/document/20210901144357_doc.pdf
ฐิตินาถ ภูมิถาวร. (2563). ความเหลื่อมล้ำในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลในประเทศไทย. วารสารสังคมภิวัฒน์, 11(2), 76-93. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/thaijss/article/view/244690/166572
ถิรวัฒน์ ลาประวัติ. (2567). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลหนองหัวช้าง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ, 3(1), 101-114. https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/2273
ปิยศักดิ์ มานะสันต์. (2560). Learn & change fast in 4.0: ชนะ-อย่างไรในยุค 4.0. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
พิษณุรักษ์ กันทวี. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก: ศึกษาเปรียบเทียบหมู่บ้านที่ปลอดโรคกับหมู่บ้านที่มีการระบาดของโรค ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก. วารสารเชียงรายเวชสาร, 13(2), 167-188. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/250096
ศศิธร ภูษาแก้ว, อาภาพร เผ่าวัฒนา, วันเพ็ญ แก้วปาน, และสุคนธา ศิริ. (2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับบทบาทผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพของผู้บริหารทางการพยาบาลในระดับอำเภอ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 31(1), 177-194. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/100985
สมโภช รติโอฬาร. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่ายชุมชนในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ จังหวัดสิงห์บุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Bombart, D., Dlamini, T., Gamarra, M. G., & Palenberg, M. (2023). Evaluation of UNESCO’s response to the COVID-19 pandemic. UNESCO. https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000385154
Chu, D. K., Akl, E. A., Duda, S., Solo, K., Yaacoub, S., & Schünemann, H. J. (2020). Physical distancing, face masks, and eye protection to prevent person-to-person transmission of SARS-CoV-2 and COVID-19: a systematic review and meta-analysis. The Lancet, 395(10242), 1973-1987. doi:10.1016/S0140-6736(20)31142-9
Cohen. J. M., & Uphoff, N. T. (1977). Rural development participation: Concept and Dahlberg, T., Guo, J., & Ondrus, J. (2015). A critical review of mobile payment research. Electronic Commerce Research and Applications, 14(5), 265-284. doi:10.1016/j.elerap.2015.07.006doi: 10.1037/amp0000716
Kniffin, K. M., Narayanan, J., Anseel, F., Antonakis, J., Ashford, S. P., Bakker, A. B., ... & Vugt, M. V. (2021). COVID-19 and the workplace: Implications, issues, and insights for future research and action. American Psychologist, 76(1), 63. measures for project design, implementation and evaluation. Cornell University.
Nitayaporn.m. (2563, 27 พฤษภาคม). New Normal ชีวิตวิถีใหม่. กรมสุขภาพจิต. https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2288