การสร้างสรรค์จิตรกรรมสื่อผสม เรื่อง มนต์เสน่ห์เกษตรกรรมแห่งลำน้ำชี
Keywords:
จิตรกรรมสื่อผสม, มนต์เสน่ห์เกษตรกรรม, art creation, mixed media painting, attractiveness of agricultureAbstract
บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับวิถีชีวิตความผูกพันกับชาวนา ชาวไร่ สังคมเกษตรกรรมจากสภาพแวดล้อมของธรรมชาติ 2) สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสื่อผสมที่มีเนื้อหาเรื่องราว แนวคิดวิถีชีวิตสังคมเกษตรกรรมลุ่มน้ำชีที่มีความสุข ผูกพันกับวิถีชีวิตในธรรมชาติตามจินตนาการของผู้วิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสื่อผสม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและผลงานสร้างสรรค์ศิลปกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ประกอบผลงาน ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลศึกษาด้านเนื้อหา เรื่อง มนต์เสน่ห์เกษตรกรรมแห่งลำน้ำชี พบว่ามีการนำเสนอเรื่องราวความประทับใจจากลำน้ำชี ที่มีการเคลื่อนไหวของสายน้ำอย่างงดงาม มีลีลา เสมือนสวรรค์ของชาวนาเกษตรกรแห่งนี้ ท้องฟ้า มีเมฆ มีดวงดาว ดอกคูนและดอกจานที่ล่องลอยเหมือนฝัน เป็นสัญลักษณ์แสดงความหมายที่บ่งบอกถึงดินแดนอีสานที่อาศัยและวิถีชีวิตของผู้คนที่มีความผูกพันกับลำน้ำชี เป็นบ่อเกิดผลผลิตในการเพาะปลูก และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ในสังคมเกษตรกรรม
2. ผลการศึกษาการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสื่อผสม พบว่าการนำรูปแบบธรรมชาติมาตัดทอนและเพิ่มรูปทรงที่เป็นสัญลักษณ์ธรรมชาติและจินตนาการขึ้นมา ประกอบกับการใช้หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ เพื่อทำให้เกิดรูปแบบใหม่ โดยนำวัสดุอะครีลิคทาผนังกันน้ำบีบลงแผ่นผ้าใบให้เกิดพื้นผิว แล้วใช้เกียงและกิ่งไม้ขูดขีดให้เป็นรูปทรงตามแบบร่าง ทำให้ผลงานเกิดความน่าสนใจ และการนำสีอะครีลิคละลายให้เหมือนสีน้ำ แล้วนำสีมาระบายลงผืนผ้าใบเสมือนน้ำไหลผ่านตามแนวของสีอะครีลิคทาผนังที่นูนขึ้น เกิดการเคลื่อนไหลของสี จากนั้นใช้พู่กันลมพ่นสีสร้างบรรยากาศให้เหมือนฝัน เพื่อเกิดความรู้สึกต่อผลงานที่ถ่ายทอด ที่จะกระตุ้นถึงอารมณ์ ความรู้สึกต่อผลงาน ซึ่งเป็นกลวิธีเฉพาะตัวของผู้สร้างสรรค์Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้