ผลกระทบจากการใช้งบประมาณรายจ่ายด้านการศึกษาต่อเศรษฐกิจจังหวัดเลย

Authors

  • นิกร น้อยพรม อาจารย์ ประจำสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Keywords:

ผลกระทบจากการใช้งบประมาณด้านการศึกษา, เศรษฐกิจจังหวัดเลย, education budget effects, economics, Loei

Abstract

บทคัดย่อ

      การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างงบประมาณรายจ่ายด้านการศึกษาของรัฐบาลกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเลย ด้วยวิธีศึกษาจากเอกสาร (Documentary  study) โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยประยุกต์ใช้เทคนิคทางเศรษฐมิติ ได้แก่ การประยุกต์ใช้เทคนิคโคอินทริเกรชัน (Cointegration) การทดสอบแบบจําลองเอเรอร์คอร์เรคชัน (Error correction model) ทดสอบความเป็นเหตุเป็นผล (Granger causality) และการวิเคราะห์ OLS (Ordinary Least Square)

      ผลการศึกษาพบว่า เมื่อทำทดสอบความนิ่งของข้อมูลของตัวแปรที่ต้องการศึกษาทั้งหมดมีลักษณะนิ่ง (Stationary) ที่ระดับ order of integration เท่ากับ 2 หรือ I(2) ณ ระดับนัยสำคัญ .01 ในทั้ง 3 รูปแบบคือ None, Trend and Intercept และ Intercept และเมื่อทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาวงบประมาณรายจ่ายด้านการศึกษาของจังหวัดเลยจะมีความสัมพันธ์ทั้งระยะสั้นและระยะยาวกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเลยในทิศทางเดียวกัน โดยงบประมาณรายจ่ายด้านการศึกษาเปลี่ยนแปลงไป 1 หน่วย จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน 1.1501 หน่วย การปรับตัวกลับเข้าสู่ดุลยภาพในระยะยาวของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดจะถูกปรับให้ลดลงในแต่ละช่วงเวลาด้วยขนาด -0.2608 หรือเป็นค่าสัมประสิทธิ์ความเร็ว (speed of adjustment) โดยงบประมาณรายด้านการศึกษาของจังหวัดเลยเป็นต้นเหตุหรือก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเลย ที่ระดับนัยสำคัญ .01 ซึ่งทั้งสองตัวแปรมีความสัมพันธ์เป็นแบบทิศทางเดียว  การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาการศึกษาจังหวัดเลย พบว่า เมื่อจำนวนบุคลากรทางการศึกษาของจังหวัดเลย เปลี่ยนแปลงไป 1 หน่วย จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาการศึกษาของจังหวัดเลยเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน 0.856150 หน่วย เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงของจำนวนผู้เรียน 1 หน่วย จะส่งส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาการศึกษาของจังหวัดเลยเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน 0.174611 หน่วย

 

Abstract

       The purpose of the study is to study the relationships between government expenditure on education and the economic development of Loei Province using documentary evidence and relevant secondary data. The study applies econometric techniques such as cointegration, an error correction model, Granger causality and ordinary least squares (OLS).

         The results indicate that the variables in the data are stationary at an order of integration 2 or I(2). All three forms, namely None, Trend and Intercept, have a significance level of .01. Moreover, all variables were testable using cointegration. The results indicate that Loei Province educational budgets are directly correlated with GPP in Loei Province in both the long term and short term, with both correlations in the same direction. Specifically, if the educational budgets change by 1 unit, the GPP is expected to change by 1.1501 units in the same direction.

         The adjustment to the equilibrium would be to decrease the GPP of Loei province in each interval by -0.2608. This number is referred to as the speed of adjustment. It was found that educational budgets in Loei province influences GPP at a significance level of .01 All in all, both variables are directly correlated. It was also found that the number of educational personnel and students in Loei Province influences educational GPP development. In particular, if the number of educational personnel in Loei province is altered by 1 unit, the Provincial GPP of education in Loei province is expected to change in the same direction by 0.856150 units. Likewise, if the number of students changes by 1 unit, the Provincial GPP of education in Loei province is expected to change in a similar direction by 0.174611 units.

Downloads

How to Cite

น้อยพรม น. (2017). ผลกระทบจากการใช้งบประมาณรายจ่ายด้านการศึกษาต่อเศรษฐกิจจังหวัดเลย. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 11(38), 21–32. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/100106