ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาชุมชน กรณีศึกษา โรงเรียนโนนหันวิทยายน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
Keywords:
การบริหาร, การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการบริหาร, management, school-based community developmentAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาชุมชน โรงเรียนโนนหันวิทยายน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ประเมินงานศึกษานิเทศก์ 4 คน ผู้ดำเนินโครงการ ซึ่งได้แก่ ผู้บริหาร ครู 15 คน และนักเรียน 20 คน รวมทั้งสิ้น 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแนวคำถามการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ประกอบด้วย ประเด็นเกี่ยวกับวิธีการดำเนินงาน แผนปฏิบัติงาน วิสัยทัศน์ หน้าที่งาน โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ ในส่วนกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น ผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาใช้ในกระบวนการวิเคราะห์และประมวลผล โดยดำเนินการวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าเอกสาร ซึ่งจะนำไปสู่ผลการวิจัย และอภิปรายผลกระบวนการ ผลการศึกษา พบว่า วิธีการดำเนินการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานโรงเรียนโนนหันวิทยายน มีขั้นตอนกระบวนการ เริ่มต้นจาก 1) การวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน 2) นำข้อมูลที่ได้จาการวิเคราะห์องค์กรมาใช้ประกอบกับนโยบายจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ประมวลผล 3) กำหนดเป็นแผนพัฒนา และแผนปฏิบัติการ 4) ประเมินผลการดำเนินงาน ในส่วนปัจจัยสู่ความสำเร็จการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้นมีดังนี้ 1) เกิดจากการที่ทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ ตั้งใจที่จะทำให้โรงเรียนไปสู่ความสำเร็จตามมาตรฐานที่กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นได้ตั้งไว้ 2) มีนโนบายการปฏิบัติที่ชัดเจน 3) มีการติดต่อสื่อสารที่ดี 4) มีทรัพยากรต่างๆ เพียงพอ 5) ผู้ปฏิบัติงานมีทัศนคติที่ดี 6) โครงสร้างองค์การที่เอื้อต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ 7) การติดตามตรวจตราความก้าวหน้าของโครงการ ความสำเร็จของโครงการที่ทำร่วมกับชุมชน คือ การผลิตผ้าทอด้วยกี่กระตุกโรงเรียนโนนหันวิทยายน โดยการเปิดสอนเป็นวิชาเพิ่มเติม จัดตั้งเป็นกิจกรรมชุมนุม ช่วยสร้างรายได้ ผลิตภัณฑ์ผ้าทอบรรจุในแพ็คเกจที่สวยงาม เหมาะสำหรับเป็นของขวัญ ของฝากที่ทรงคุณค่า ผ้าหนึ่งผืนสามารถตัดเสื้อได้หนึ่งตัว ผ้าเนื้อดีเพราะทำมาจากด้ายชนิดดี นอกจากนี้ยังมีการขยายผลสู่งานผลิตภัณฑ์ผ้าทอ เช่น รองเท้า หมวก กิ๊บติดผม เข็มขัด เป็นต้น
Abstract
This research aims to study the success factors in the administration of school-based community development through a case study of Non Hun Vittayayon School, Chum Pea, Khon Kean. Information was obtained from four supervisors, fifteen teachers and administrators and twenty students. The interview questions covered implementation, planning, vision, duties, and success factors. This study found that the implementation process of school-based community development begins with the analysis of school potential in line with Khon Kean provincial administration policy and the creation of a development plan. Key success factors are collaboration, commitment and clear policy. Leaders must agree with and support policy and then follow up with results. Additionally, this project can be extended to other products such as shoes, hats, hairpins, and belts.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้