บทบาทของทุนทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษาชุมชนในตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
Keywords:
ทุนทางวัฒนธรรม, เศรษฐกิจชุมชน, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ตำบลบ้านตุ่น, พะเยา, the cultural capitals, the community’s economic, the local wisdom, Ban Toon sub-district, PhayaoAbstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง บทบาทของทุนทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนในตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทุนทางวัฒนธรรมของตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ศึกษาโครงสร้างเศรษฐกิจชุมชนของตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ตลอดจนบทบาทของทุนทางวัฒนธรรมของตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยาที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
ผลการวิจัยพบว่า ทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนในตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา คือ ประเพณีดั้งเดิมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านหัตถกรรมการจักสานไม้ไผ่ การจักสานผักตบชวา การทำนาแบบดั้งเดิมและการทำนาอินทรีย์ ทุนบุคคลมีปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชนที่มีบทบาทในการรวมกลุ่มการสร้างความเข้มแข็งและการพัฒนาชุมชน สำหรับทุนเครือญาตินั้นในชุมชน มีความสัมพันธ์แบบเคารพผู้อาวุโส เคารพกฎระเบียบ กติกาของหมู่บ้าน โครงสร้างทางเศรษฐกิจ ยังเป็นรูปแบบการผลิตในขั้นพื้นฐานและการแปรรูปผลผลิตที่ได้เป็นผลิตภัณฑ์อย่างง่ายเพื่อใช้ในการดำรงชีพและจัดจำหน่ายทั้งภายในและภายนอกชุมชน ระบบการจ้างงานยังคงมีการใช้ระบบการลงแขกเกี่ยวข้าวภายในเครือญาติและภายในชุมชน มีการจ้างแรงงานจากชาวบ้านในชุมชนเป็นครั้งคราว
บทบาทของทุนทางวัฒนธรรมที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนในตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา พบว่าทุนทางวัฒนธรรมมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในตำบลบ้านตุ่น ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 คิดเป็นร้อยละ 85.00 โดยประชาชนเห็นด้วยมากที่สุดในเรื่อง ชุมชนจะสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืนหากนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นอาชีพต่างๆ
การที่จะทำให้ทุนทางวัฒนธรรมมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน คือ ส่งเสริมให้ทุนบุคคล มีบทบาทเพิ่มขึ้น มีการถ่ายทอดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องผ่านศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน และให้ประชาชนทุกหมู่บ้าน มีส่วนร่วมการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเป็นตัวเชื่อมกับกิจกรรมการพัฒนาชุมชน จะทำให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน เกิดเป็นพลังในการขับเคลื่อนชุมชน ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งสู่การพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
Abstract
The cultural capitals of communities in Ban Toon sub-district, Muang district, Phayao province are tradition and local wisdom in weaving basketry product, weaving water hyacinth, traditional rice cultivation and organic rice cultivation. Human capitals are the local savant, chief of the community who is experienced in group forming and strengthening for the community development. Relationship capital is people in the community respect senior members and respect rules and regulations of the community. The economic structure is still a primary production and preservation for household consumption and community trading. The employment system is still a barter system from people in the family or in the same community. The role of cultural capital in the community economic development in Ban Toon community was rather important with the average value of 4.25 or 85%. Community member mostly agreed that the community will develop sustainably if implementing the local wisdom and develop new careers.
Bringing the cultural capital to help develop community’s economics is by promoting human capital to have more role and transfer the education continuously through the local learning center and allow all community members to take part in using the cultural capital together with community development activities; thus, this will create the mutual learning and create the power to drive the community forward to be the strong and sustainable community.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้