ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับสภาพการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬาแขวงไซยะบูลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Authors

  • ตู้ สมบัติ นักศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • กฤษณา บุตรปาละ อาจารย์ ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • อมรา จำรูญศิริ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1

Keywords:

ความสัมพันธ์, ภาวะผู้นำทางวิชาการ, สภาพการบริหารงานวิชาการ, relationship, principal’s instructional leadership, state of academic administration

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬาแขวงไซยะบูลี 2) ศึกษาระดับสภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬาแขวงไซยะบูลีและ 3) ศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้ทางวิชาการกับสภาพการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬา แขวงไซยะบูลี ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬาแขวงไซยะบูลี ปีการศึกษา 2555 โดยเก็บข้อมูลจากครูผู้สอนจำนวน 323 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

1) ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวางแผนเพื่อพัฒนาความเป็นนครูมืออาชีพ รองลงมาคือ ด้านการประเมินผลนักเรียน ส่วนด้านที่ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการจัดโครงการสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

2) ระดับสภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านการนิเทศการสอน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการวิจัยในชั้นเรียน

3) ภาวะผู้นำทางวิชาการมีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับสภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา อยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคู่ที่มีความสัมพันธ์สูงสุด คือ ภาวะผู้นำทางวิชาการ ด้านการวางแผนเพื่อพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสภาพการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา

 

Abstract

This research aimed to study 1) the level of the principal’s instructional leadership, 2) the level of the principal’s state of academic affairs management, and 3) the level of the relationship between the principal’s instructional leadership and state of academic affairs management. The research sample consisted of 323 teachers drawn from the school.  A rating scale questionnaire was applied for data collection which earned data were analyzed to obtain percentage, mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient.  The research findings revealed as follows :

1. The overall aspect of the principal’s instructional leadership found at a high level.  By item found that the planning on teacher development for being a professional teacher was the highest mean and followed by the student evaluation while the project for special needed students was found at the lowest mean.

2. The level of the principal’s state of academic affairs management in total aspect was found at a high level. By item found that the learning management was the highest mean, followed by educational supervision. The lowest mean found was the classroom action research.

3. The relationship between the instructional leadership and the principal’s state of academic affairs management at a high level with the statistical significance at .01 level. The highest relation found was the planning on teacher development for being a professional teacher positively associated with the principal’s instructional leadership.

Downloads

How to Cite

สมบัติ ต., บุตรปาละ ก., & จำรูญศิริ อ. (2017). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับสภาพการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬาแขวงไซยะบูลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 9(30), 1–9. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/100371