ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิภาพการสอน ของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬาแขวงไซยะบูลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Keywords:
ความสัมพันธ์, ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ประสิทธิภาพการสอน, relationship, principal’s instructional leadership, teacher’s teaching efficiencyAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน และประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬาแขวงไซยะบูลี 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬาแขวงไซยะบูลี ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬาแขวงไซยะบูลี โดยเก็บข้อมูลจากครูผู้สอน จำนวน 329 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการประเมินผลการสอนของครู รองลงมาคือ ด้านการประเมินผลนักเรียน และด้านมุมมองและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านหลักสูตร ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการจัดโครงการสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ตามลำดับ
2. ระดับประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอน โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการทำให้กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนมีประสิทธิภาพ รองลงมา คือ ด้านการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย และด้านการสร้างความชัดเจนในบทเรียน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการแสดงความใส่ใจในงานสอน ตามลำดับ
3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬาแขวงไซยะบูลี โดยพบว่า ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคู่ที่มีความสัมพันธ์สูงสุดคือ ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ด้านการวางแผนเพื่อพัฒนาครูให้มีความเป็นครูมืออาชีพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอน
Abstract
The purposes of this research were to study : 1) the level of the principal’s instructional leadership and the teacher’s teaching efficiency in primary schools under the Department of Education and Sport of Sayaboury Province, Lao People’s Democratic Republic, 2) the relationship between the principal’s instructional leadership and the teacher’s teaching efficiency. The research sample consisted of 329 teachers drawn from the schools. A rating scale questionnaire was applied for data collection which earned data were analyzed to obtain percentage, mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient. The findings were summarized as follows :
1. The total aspect of the principal’s instructional leadership was at a high level. The highest mean found was teaching evaluation and followed by the student evaluation then the overview and trend of the curriculum change respectively. The project for the special need students was the lowest mean.
2. The total aspect of the teacher’s teaching efficiency in was at a high level. The student’s learning process effectively was the highest mean, followed by the various teaching methods implemented in teaching then the lesson clarifying respectively. The lowest mean found was the attention to learning and teaching.
3. The relationship between The principal’s instructional leadership and the teacher’s teaching efficiency. It was found that the instructional leadership was positively associated with the teaching efficiency at a high level with the statistical significance at .01 level. The highest pair found was the planning on teacher development for being a professional teacher was positive relation with the teacher’s teaching efficiency.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้