การจัดทำบัญชีครัวเรือนกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่ทำนาใน บ้านแดงน้อย หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Authors

  • ฐณดม ราศีรัตนะ อาจารย์ ประจำสาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น

Keywords:

การจัดทำบัญชีครัวเรือน, คุณภาพชีวิต, สถานะทางครอบครัว, household accounting, quality of live, family status

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดทำบัญชีครัวเรือนต่อคุณภาพชีวิตและสถานะทางครอบครัวของเกษตรกร ผู้มีอาชีพทำนาและอาศัย ณ หมู่บ้านแดงน้อย ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยได้ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการและการจัดทำบัญชีครัวเรือนแก่เกษตรกรจำนวน 35 ครัวเรือน จนสามารถจัดทำบัญชีครัวเรือนได้ด้วยตนเอง จากนั้นให้เกษตรได้ทดลองจัดทำบัญชีครัวเรือนเป็นระยะเวลา 6 เดือน และทำการศึกษาคุณภาพชีวิตและสถานะทางครอบครัวของเกษตรกร ก่อนและหลังการจัดทำบัญชีครัวเรือน นอกจากนี้ยังได้เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตและสถานะทางครอบครัวของเกษตรกรกลุ่มที่มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนและกลุ่มที่ไม่ได้จัดทำบัญชีครัวเรือนจำนวน 41 ครัวเรือน  ผลการศึกษาพบว่า

(1) คุณภาพชีวิตและสถานะทางครอบครัวของเกษตรกร  ผู้มีอาชีพทำนาและอาศัย ณ หมู่บ้านแดงน้อย ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยทั่วไปก่อนเริ่มโครงการ อยู่ในระดับต่ำ โดยสัมพันธ์กับการที่เกษตรเหล่านี้ไม่เคยมีการจัดทำบัญชีครัวเรือนมาก่อนเลย (2) สำหรับเกษตรกรกลุ่มที่ไม่ได้จัดทำบัญชีครัวเรือน พบว่า คุณภาพชีวิตและสถานะทางครอบครัวก่อนและหลังสิ้นสุดโครงการ ไม่แตกต่างกัน (3) หลังจากที่ให้เกษตรกร ได้จัดทำบัญชีครัวเรือนเป็นระยะเวลา 6 เดือน พบว่า คุณภาพชีวิตและสถานะทางครอบครัวของเกษตรกรกลุ่มจัดทำบัญชีครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05, Paired t-test) เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเริ่มโครงการ  นอกจากนี้ยังพบว่า(4) คุณภาพชีวิตและสถานะทางครอบครัวของเกษตรกรกลุ่มจัดทำบัญชีครัวเรือนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05, t-test) จากกลุ่มที่ไม่ได้จัดทำบัญชีครัวเรือน 

โดยสรุป การศึกษาครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทของการจัดทำบัญชีครัวเรือนในการเพิ่มคุณภาพชีวิตและสถานะทางครอบครัว ซึ่งข้อมูลที่ได้นี้ อาจใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและควบคุมการจัดการและการบริหารการเงิน ซึ่งจะนำไปสู่การใช้จ่ายอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ

 

Abstract

This work is aimed to study the effect of household accounting on the quality of life and family status of farmers in Ban Daeng Noi, Ban Toom sub-district, Muang, Khon Kaen.  Principle and procedure of household accounting has been trained in 35 voluntary families.  Qualities of life and family statuses were analyzed in trained-families by questionnaires before and after performing the household accounting for 6 months. In addition, these parameters were also compared between these 35 household accounting-organized and the other 41 non-organized families.  The results showed that:

(1) Before starting the project, qualities of life and family statuses were low in the farmers in Ban Daeng Noi, Ban Toom sub-district, Muang, Khon Kaen, in association with the of lack of household accounting.  (2) For the household accounting non-organized families, qualities of life and family statuses at the end of program were not different from those before starting the program.  (3) After 6 months of household accounting was allowed to be organized, qualities of life and family statuses were significantly increased in the household accounting organized-families (p < .05, Paired t-test), comparing with before starting the program. In addition, the qualities of life and family statuses of the household accounting organized-families were significant different from those of non-organized families (p < .05, t-test). 

In conclusion, this study has emphasized the role of household accounting in the improvement of qualities of life and family statuses. This information may benefit in planning and controlling financial management, which may facilitate the efficiently and economically expense.

Downloads