ชู้รัก รักซ้อน ในนวนิยายของเอะกุนิ คะโอะริ: วิเคราะห์ความสัมพันธ์นอกกรอบอุดมคติในนวนิยายร่วมสมัย
Keywords:
คตินิยมสมัยใหม่, ความสัมพันธ์, กรอบอุดมคติ, นวนิยายร่วมสมัย, modernism, relationship, ideal, contemporary novelAbstract
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งวิเคราะห์ความสัมพันธ์รักของตัวละครเอกในนวนิยายของเอะกุนิ คะโอะริ ความสัมพันธ์ของตัวละครดังกล่าวมีลักษณะที่ผิดไปจากกรอบอุดมคติของความรักตามคตินิยมสมัยใหม่ กล่าวคือ ตัวละครเอกในนวนิยายที่เลือกศึกษาล้วนเกี่ยวข้องกันด้วยวิถีที่ผิดไปจากค่านิยมของสังคม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความรักของตัวละครเอกจะขัดแย้งกับแนวทางที่เชื่อกันว่าถูกต้องดีงาม แต่การผิดทำนองคลองธรรมนั้นกลับทำให้เกิดบทสรุปที่ดีต่อตัวละครเอกทั้งสิ้น ผลวิเคราะห์ทำให้ได้ข้อสรุปว่า เนื้อเรื่องของนวนิยายสะท้อนถึงอิทธิพลของสังคมร่วมสมัยซึ่งกระแสแนวคิดหลักของคตินิยมสมัยใหม่ได้ลดบทบาทลงไป คตินิยมแบบสมัยใหม่ได้มุ่งกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อควบคุมความประพฤติของคน ในทางตรงกันข้าม แนวคิดที่แย้งกับคตินิยมดังกล่าวได้หันมายอมรับความแตกต่างหลากหลายและวิถีที่ขึ้นอยู่กับบริบท นวนิยายที่เลือกศึกษา ได้แก่ เป็นประกาย หล่นและสวีต ลิตเติ้ล ไลส์ล้วนนำเสนอเรื่องราวของกลุ่มคนที่ไม่ยึดติดอยู่กับกรอบความเชื่อที่กำหนดและจำกัดคุณลักษณะของความดีงาม จึงกล่าวได้ว่านวนิยายของเอะกุนิ คะโอะริได้เสนอให้เห็นท่าทีที่เพิกเฉยต่อคตินิยมสมัยใหม่และหันมาตอบรับกระบวนทัศน์จากสังคมร่วมสมัย
Abstract
This research paper aims to analyze main character’s love relationship in Ekuni Kaori novels .The main character’s relationships appear to be different from the concepts of ideal love, responding to modernism. That is to say, all main characters in the selected novels have relationships which are different from the frames of social values. But, although those love relationships oppose the ways that are believed to be socially good, yet, those socially good-oppose relationships all have satisfactory endings. The research shows that the novel’s stories reflect the influence of contemporary society of which the main stream of modernism is declining. Modernism intends to construct moral standards so that people ‘s behaviors are controlled. In the opposite way, the thought that reject such attitude turns to accept the difference, diversity and context regarding. The selected novels, Kira Kira Hikaru, Rakka suru Yugata and Sweet Little Lies present the stories of people who set their life free from social regulation which limit and regulate the idea of goodness. According to research findings, the conclusion has been reached that Ekuni Kaori’s novels present the attitude that neglects modernism but aims to accept contemporary society paradigm.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้