ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 (จังหวัดเลย)
Keywords:
การวิเคราะห์เส้นทาง, จิตวิทยาศาสตร์, path analysis, scientific mindAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยเชิงสาเหตุและจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 (จังหวัดเลย) 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสาเหตุกับจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 (จังหวัดเลย) 3) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 (จังหวัดเลย) 4) เพื่อพัฒนารูปแบบของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 (จังหวัดเลย) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 (จังหวัดเลย) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน (Two - stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียน และแบบทดสอบการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของตัวแปร ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรมลิสเรล 8.30 ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 (จังหวัดเลย) ได้แก่ มโนภาพแห่งตนด้านวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับปานกลาง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยอยู่ในระดับมาก ปฏิสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อนอยู่ในระดับมาก และการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง
2. รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นระหว่างปัจจัยเชิงสาเหตุกับจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 (จังหวัดเลย) ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ความตรงของรูปแบบพิจารณาได้จากค่าสถิติไคสแควร์ (c2) มีค่าเท่ากับ 7.61 (p = 0.81) df = 12 มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 1.000 ดัชนีความสอดคล้องที่ปรับแก้ AGFI เท่ากับ 0.98 RMSEA เท่ากับ 0.000 และ CN เท่ากับ 1372.22
3. เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐาน พบว่า 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงมากที่สุดคือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐานเท่ากับ 0.31 รองลงมาคือ มโนภาพแห่งตนด้านวิทยาศาสตร์ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐานเท่ากับ 0.24 และการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐานเท่ากับ 0.10 และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมมากที่สุดคือ การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐานเท่ากับ 0.36 รองลงมาคือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐานเท่ากับ 0.09 และปฏิสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐานเท่ากับ 0.03
Abstract
The purposes of this research were : 1) to study the level of casual factors and Scientific mind, 2) to identify the relationship between the causal factors and scientific mind, 3) to investigate the causal factors influencing Scientific mind, 4) to develop a model of the causal factors of Mathayomsuksa 1 students in schools of the Secondary Educational Service Area Office 19 (Loei). The two - stage random sampling was employed for 400 students from those schools in 2/2012 academic year. The research tools for data gathering were focus group discussion, in-depth interview, a set of questionnaire, learning aptitude test and scientific inquiry test. A statistical technique to analyze general information was mean, S and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient while LISREL 8.30 program was employed to examine the measurement and the structural model. The finding were :
1. The casual factors and Scientific mind were to promote the science self concept at moderately level, achievement motivation in science at very much level, democracy children-rearing at very much level, Classroom climate at very much level and scientific inquiry at moderately level.
2. The relationship model between casual factors and scientific mind was developed congruence with empirical data measured by Chi-square = 7.61 (p = 0.81), df = 12 GFI = 1.000, AGFI = 0.98, RMSEA = 0.000 and CN = 1372.22.
3. Considering the influence coefficients, the findings revealed that : 1) the direct effects were the achievement motivation in science with influence coefficient value = 0.31 and followed by the science self concept with influence coefficient value = 0.24 and the scientific inquiry with influence coefficient value = 0.10. and 2) The indirect effects were the democracy children-rearing with influence coefficient value = 0.36 and followed by the achievement motivation in science with influence coefficient value = 0.09 and the classroom climate with influence coefficient value = 0.03.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้