การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลท่าลี่ อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย สังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น
Keywords:
การวิจัยปฏิบัติการ, ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์, action research, basic mathematics skill’sAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)สำรวจสภาพและปัญหาด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 2)ศึกษาแนวทางการพัฒนาและศึกษาผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 3)ศึกษาผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 4)เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังการพัฒนา 5)เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 กับเกณฑ์ร้อยละ70 6)ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ต่อการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)เครื่องมือเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ คือ (1)แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (2)แผนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (3)แบบทดสอบย่อยท้ายวงจร(4)แบบสอบถามความพึงพอใจ ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 2)เครื่องมือเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ (1)แบบสัมภาษณ์เชิงลึกครู ผู้บริหาร และผู้ปกครองใช้การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (2)แบบสังเกตพฤติกรรมทางการเรียน (3)แบบบันทึกความก้าวหน้าทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. สภาพและปัญหา ด้านนักเรียน พบว่า นักเรียนนับเลขไม่ได้ ไม่รู้ค่าของตัวเลข ไม่ตั้งใจเรียน ด้านครอบครัว ผู้ปกครองไม่มีเวลาสอนลูกทำการบ้าน และด้านครูผู้สอน ครูขาดการใช้สื่อที่ส่งเสริมให้นักเรียนสนใจในการเรียน
2. แนวทางการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ พบว่า ต้องการให้นักเรียนมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ดีและพร้อมที่จะเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาต่อไป และอยากให้ครูมีสื่อการสอนที่ทำให้เด็กสนใจและตั้งใจเรียนมากขึ้น เช่น ใช้เกมเพื่อช่วยในการเรียนการสอน
3. ผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีผลการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ร้อยละ 84.88 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Abstract
The purposes of this action research were 1) to survey the problem of the basic mathematics skill’s 2 kindergarten. 2) to study the way to development of the basic mathematics skill’s 2 kindergarten. 3) to study the result of the basic mathematics skill’s 2 kindergarten.4) to compare the basic mathematics skill’s 2 kindergarten before and after organizing activities 5) to compare the mathematics skill’s 2 kindergarten with the 70 of percentage and 6) to study the satisfaction of learning for developing basic mathematics of the 2 kindergarten. The tools used in this study were 1)Quantitative tools for data collection consist with (1)The basic mathematics skill test. (2)The mathematics basic skill plan for student. (3)The test for end of loop (4)The questionnaire of the satisfaction for leaning kindergarten. 2)Quantitative tools for data collection consist with (1)interview teacher, head of department and parents (2)observe the leaning of students by their research (3)progress record of study. Quantitative data was analyzed by using percentage, mean, standard deviation and t – test and qualitative data was analyzed by triangular technique. The findings :
1.The student problem were uncounted and unknown the numbers, no attention for study. Family problem was parent no time to teach theirs child to do homework and teacher problem was the lack of using the media for learning.
2.Approach to basic mathematics skills that students need to have basic math skills, and available to students in the next grade level. And my teachers are teaching the children interested and willing to learn more like a game to help teaching and learning.
3.For the result to compare before and after the development of basic mathematic skill was significantly higher than that before learning activities at .05 level and the result to compare with target group higher than the criterion of percentery that was 84.88.
4.The 2 kindergarten had a good satisfaction of learning for developing basic skills in mathematics.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้