การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านนาเบน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1

Authors

  • อุไร มีแพง นักศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • จุไรรัตน์ อาจแก้ว อาจารย์ ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • พงษ์ศักดิ์ ศรีจันทร์ อาจารย์ ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Keywords:

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์, action research, mathematical problem solving

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพปัญหาเกี่ยวกับความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ระหว่างก่อนและหลังการพัฒนา 4) เปรียบเทียบการพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 5) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านนาเบน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบย่อยท้ายวงจร แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ใบกิจกรรม แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบบันทึกพฤติกรรมทางการเรียน  แบบบันทึกการเรียนรู้  แบบบันทึกการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที  ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัญหาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์เรื่อง การหาร พบว่า  ครูจัดการเรียนการสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลาง ยึดแบบเรียนและคู่มือครูเป็นหลัก ขาดการเตรียมการสอน เน้นให้นักเรียนหาคำตอบที่ถูกต้องมากกว่าเน้นกระบวนการหรือขั้นตอนการหาคำตอบ ขาดเทคนิคและวิธีการสอนที่น่าสนใจ มีกิจกรรมการเรียนการสอนที่ไม่หลากหลาย การแก้โจทย์ปัญหาเน้นให้นักเรียนทำตามแบบที่ครูสอนมากกว่าให้นักเรียนได้เรียนรู้หรือหาวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง  นักเรียนไม่มีความกระตือรือร้น ไม่มีแนวคิดใหม่ๆ ไม่ค่อยซักถาม นักเรียนขาดทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม ไม่ค่อยปรึกษากันและขาดความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

2. แนวทางการพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเสนอแนะว่าควรปรับพื้นฐานทางการเรียนที่แตกต่างกันของนักเรียนให้พร้อมสำหรับเนื้อหาใหม่  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ให้เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียนแต่ละคน เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ และใช้การเสริมแรง และวางเงื่อนไขสำคัญ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความสนใจในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น  และร่วมมือกับบุคลากรในโรงเรียนและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อการช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหา

3. ผลการพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีผลการพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง  การหาร หลังการพัฒนาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร โดยภาพรวมในระดับมาก

 

Abstract

This action research  aimed to study the Prathomsuksa 3 students’ capacity of Mathematical problem solving on topic “division” which the research purposes were : 1) to survey the problem of capacity of mathematical problem solving, 2) to find out the guideline of development of mathematical problem solving ability, 3) to compare  the students’ ability between before and after development, 4) to investigate the ability of mathematical problem solving with the 70 percent criterion, and 5) to study the  satisfaction of learning activity to develop the ability in mathematical problem solving. The purposive  random sampling  was 12 Prathomsuksa 3 students of Bannabane school, the Office of Prathomsuksa Educational Service Area 1. The research tools consisted of a learning plan, ended-loop test, a test of mathematical problem solving, worksheet, a satisfactory questionnaire, learning behavior record, interview. The statistics used of data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test.  The finding were indicated as follows :

1. Teachers teaching by the teacher at the center. The textbook and your teacher is. Lack of preparation and lack of teaching materials. The students to find the correct answer rather than the process or procedure to find solutions. The techniques and methods of teaching to do. There are a variety of teaching and learning. Students to focus on problem solving by the teacher and students to learn more or find out how to solve problems on their own. Students do not attend school. No enthusiasm. Students interested in teaching only specific recognition. No new ideas. I asked. Students rarely consulted and lack of mutual aid. Students lack the skills to work as a group.

2. The development of the ability to solve mathematical problems. Stakeholders  suggested that there should be different based learning students available for new content. Mathematics teaching and learning activities appropriate to the abilities of each student. A variety of teaching and learning. Student is important. And reinforcement. And put key terms. The medium of instruction in accordance with the teaching activity. To encourage students interested in learning more. And collaboration with school personal and stakeholders to help students who are training for various disciplines. Learning of students.

3. For results of the development of ability  to solve mathematical problem on topic “division” of the Prathomsuksa 3 students after the development the  students problem solving ability was significantly higher than that before the development the  students problem solving ability at .01 level, and the results after development the  students attained the ability in mathematical problem solving higher than 70 percent criterion with the statistical significance at .05 level.

4. The satisfaction  with the learning activity for development of mathematical problem solving topic “division”, the result showed that the students were satisfied in total aspect at a high level.

Downloads