ทัศนคติของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อมาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
Keywords:
ทัศนคติของผู้บริหารสถานศึกษา, มาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา, administrator’s attitudes, professional autonomyAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทัศนคติของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อมาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2555 จำนวน 203 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการปฏิบัติตน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย ค่า t-test แบบ Independent sample และทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า
1. ทัศนคติของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีต่อมาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน
2. การเปรียบเทียบทัศนคติของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีต่อมาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ โดยรวมพบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มาตรฐานการปฏิบัติตนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ และมาตรฐานการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อจำแนกตามวุฒิการศึกษา ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวม มาตรฐานการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการปฏิบัติตนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดใหญ่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยรวม มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนมาตรฐานการปฏิบัติตนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยประสบการณ์ในการทำงานต่ำกว่า 5 ปี
Abstract
The purpose of this research was to study and compare administrator’s attitudes towards professional autonomy under Bangkok Metropolitan Administration, classified by gender, education, size of school and experience of work. There were 203 administrators for the research sample that under Bangkok Metropolitan Administration. The instrument used for collecting data was a questionnaire. Three standards criteria under the study included knowledge and experience, job performance and self discipline. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, t-test for Independent Sample and one-way analysis of variance. The results of the research were summarized as followed :
1. The attitudes of administrators towards professional autonomy under Bangkok Metropolitan Administration was at high level for overall and each aspect.
2. The attitudes of administrators towards professional autonomy under Bangkok Metropolitan Administration when comparing between each aspect, it found as the following; Gender, the attitudes of administrators towards professional autonomy under Bangkok Metropolitan Administration had no significant difference. The self discipline had different at .05 level. Education , the attitudes of administrators towards professional autonomy under Bangkok Metropolitan Administration had no significant difference. Size of school , the attitudes of administrators towards professional autonomy under Bangkok Metropolitan Administration that had different in school’s size was showed significantly different at .05 level. Job experience , the attitudes of administrators towards professional autonomy under Bangkok Metropolitan Administration had no significant difference in overall, knowledge and experience and job performance but the self discipline had different at .05 level.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้